ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
dot
bulletขึ้นรูปยาง
bulletยางแผ่น
bulletลูกกลิ้งอุตสาหกรรม
bulletซีลยาง-ท่อยาง
bulletพื้นรองเท้ายาง
dot
dot
bulletวิธีการชำระเงิน
dot
dot
bulletแผนที่บริษัท
bulletเอกสาร (แบบฟอร์ม)
dot
dot
bulletคุณสมบัติยาง
bulletบทความสีเขียว
bulletบทความลูกกลิ้ง
bulletค่าบริการไปรษณีย์
dot

dot
bulletติดต่อสอบถาม
dot
dot
ตรวจสอบสถานะ EMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน




dot
“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเทคโนโลยี article
วันที่ 04/09/2011   10:44:54

electronic wasteด้วยความหลากหลายของเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเหตุให้การบริโภคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง และกระจายไปสู่ประชากรทุกชนชั้น ทั้งโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์รุ่นใหม่ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ประกอบกับการก้าวกระโดดของภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้การล้าสมัยของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดเป็นไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ในปีหนึ่งๆ เราบริโภคสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์กันมากน้อยเพียงใด บางคนอาจจะตอบว่า เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือทุกปี เพราะรุ่นใหม่ๆ ออกมาอยู่ตลอด ถ้าไม่เปลี่ยนอาจจะตกเทรนด์ โดยเฉพาะโทรทัศน์จอแอลซีดี ที่มีราคาต่ำลงจนน่าตกใจ ยังไม่รวมคอมพิวเตอร์ ที่หลายท่านมีไว้ในครอบครองทั้งพีซีและโน้ตบุ้ค ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ หลายท่านก็ใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพหรือเต็มอายุสินค้านัก ก็อาจจะเปลี่ยนใหม่ เรามักจะหาซื้อมาใช้กันมากมาย โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะเสื่อมสภาพการใช้งานเมื่อใด และจะนำไปกำจัดทิ้งอย่างไร เพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน และผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม

นั่นทำให้เราเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างไม่ตั้งใจในการสร้างกองภูเขาใหญ่ที่ชื่อ "ขยะอิเล็กทรอนิกส์"

ในวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี ให้ความหมายไว้ว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ “อีเวสต์” (e-waste) เป็นของเสียที่ประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสียหรือไม่มีคนต้องการแล้ว ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นประเด็นวิตกกังวล เนื่องจากชิ้นส่วนหลายชิ้นในอุปกรณ์เหล่านั้น ถือว่าเป็นพิษ และไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้

ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีทุกวันนี้ยังมีส่วนเร่งให้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในสภาพตกรุ่นเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีอัตราการเปลี่ยนเครื่องบ่อยที่สุด อายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน อยู่ระหว่าง 3-5 ปี ขณะที่โทรศัพท์มือถือมีอายุใช้งานเฉลี่ย 18 เดือน อายุการใช้งานบวกกับจำนวนผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกนั้น กำลังเป็นปัจจัยที่เพิ่มขึ้นของขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปพร้อมๆ กัน

ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลกมีมากถึง 40 – 50 ล้านตันต่อปี ในประเทศไทยเองจากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ในปี 2546 ประเทศไทยมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 58,000 ตัน ในปี 2547 - 2548 มีการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มือสองจากญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลี และสิงคโปร์ มากถึง 265,000 ตัน จะเห็นได้ว่าเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากจนน่าตกใจ

ปัจจุบันปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นเป็น 3 เท่าของขยะมูลฝอยในชุมชน โดยเฉพาะขยะที่มาจากผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงรุ่นและตกรุ่นอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีการเลิกใช้ และถูกทิ้งเป็นขยะสะสมเป็นปริมาณมากตามความต้องการของตลาด

นอกจากนี้ ประเทศไทยกลายเป็นส่วนหนึ่งของปลายทางขยะอิเล็กทรอนิกส์จากทั่วโลก ซึ่งถูกแฝงมาในรูปของการนำเข้าสินค้าคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือที่ใช้แล้วจากต่างประเทศ ซึ่งมีอายุการใช้งานสั้น และพร้อมจะเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ สร้างปัญหามลพิษต่อไป

ถ้าหากใครเคยไปเดินที่พันธ์ทิพย์ จะเห็นว่ามีคอมพิวเตอร์มือสองวางขายเป็นจำนวนมาก และคนก็ชอบซื้อ เพราะราคาถูกกว่า 50-70% เลยทีเดียว

วงจรชีวิตของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนมาก ไม่ทราบถึงมหันตภัยร้ายแรงที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากวงจรชีวิตของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การใช้สารพิษที่เป็นอันตรายอย่างสารปรอท ตะกั่ว และสารทนไฟในกระบวนการผลิต ที่สามารถก่อให้เกิดการปนเปื้อนสารพิษในสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนงาน อีกทั้งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการรีไซเคิล และการกำจัดอีกด้วย

แผนผังวงจรผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

 แผนผังวงจรผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

ทำไมขยะอิเล็กทรอนิกส์จึงมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม?

เนื่องจากส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ มีสารโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถจำแนกสารอันตรายที่อยู่ในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ได้ ดังนี้

ตะกั่ว เป็นส่วนประกอบในการบัดกรีแผ่นวงจรพิมพ์ หลอดภาพรังสีแคโทด (CRT) เป็นต้น โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ระบบโลหิต การทำงานของไต การสืบพันธุ์ และมีผลต่อการพัฒนาสมองของเด็ก และทำลายระบบประสาท ระบบเลือด และระบบสืบพันธุ์ในผู้ใหญ่ นอกจากนี้ พิษจะสามารถสะสมได้ในสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดผลเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรังได้ในพืช และสัตว์

แคดเมียม มักพบในแผ่นวงจรพิมพ์ ตัวต้านทาน และหลอดภาพรังสีแคโทด เป็นต้น ซึ่งสารนี้จะสะสมในร่างกาย โดยเฉพาะที่ไต ทำลายระบบประสาท ส่งผลต่อพัฒนาการและการมีบุตร หรืออาจมีผลกระทบต่อพันธุกรรม

ปรอท มักพบในตัวตัดความร้อน สวิตซ์ และจอแบน โดยจะส่งผลในการทำลายอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งสมอง ไต และเด็กในครรภ์มารดาได้ และถ้าลงสู่แหล่งน้ำจะเปลี่ยนรูปเป็น Methylated Mercury และตกตะกอน ซึ่งสะสมในสิ่งมีชีวิตได้ง่าย และจะสะสมต่อไปตามห่วงโซ่

โครเนียมเฮกซาวาแลนท์ ใช้ในการป้องกันการกัดกร่อนของแผ่นโลหะเคลือบสังกะสี ซึ่งสามารถผ่านเข้าสู่ผนังเซลล์ได้ง่าย จะส่งผลในการทำลายดีเอ็นเอ และเป็นสารก่อมะเร็งสำหรับมนุษย์

บริลเลียม ใช้ในแผนวงจรหลัก เป็นการก่อมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด โดยผู้ที่ได้รับสารนี้อย่างต่อเนื่องจากการสูดดมจะกลายเป็นโรค Beryllicosis ซึ่งมีผลกับปอด หากสัมผัสก็จะทำให้เกิดแผลที่ผิวหนังอย่างรุนแรง

สารหนู ใช้ในแผงวงจร ซึ่งทำลายระบบประสาท ผิวหนังและระบบการย่อยอาหาร หากได้รับปริมาณมากอาจทำให้ถึงตายได้

แบเรียม ใช้ในแผ่นหน้าของหลอดรังสีแคโทด ซึ่งเป็นสารที่มีผลต่อสมอง ทำให้สมองบวม กล้ามเนื้ออ่อนล้า ทำลายหัวใจ ตับ และม้าม

ตัวทนไฟทำจากโบรมีน ใช้ในกล่อง พลาสติกของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจร และตัวเชื่อมต่อ ซึ่งเป็นสารที่มีพิษและสามารถสะสมได้ในสิ่งมีชีวิต ถ้ามีทองแดงร่วมด้วยจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไดออกซิน และฟิวแรนระหว่างการเผา เนื่องจากตัวทนไฟทำจากโบรมีนมีอยู่หลายรูปแบบ แบบที่มีอันตรายมากจะเป็นโบรมีนมีอยู่หลายรูปแบบ แบบที่มีอันตรายมากจะเป็นโพลีโบรมิเต็ดไบฟีนีล (Polybrominated Biphenyls-PBBs) ซึ่งก่อให้เกิดไดออกซิน สารก่อให้เกิดมะเร็งทำลายการทำงานของตับ มีผลกระทบต่อระบบประสาท และภูมิต้านทาน ทำให้การทำงานของต่อไทรอยด์ผิดพลาด รวมถึงระบบต่อมไร้ท่อสามารถสะสมในน้ำนมของมนุษย์ และกระแสเลือด สามารถถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหาร

ตัวอย่างสารพิษในขยะอิเล็กทรอนิกส์

ตะกั่ว ใช้มากในแบตเตอรี่ ผสมในฉนวนสายไฟ (PVC) แผ่นวงจรพิมพ์ (ตะกั่วบัดกรี)
ปรอท พบในเครื่องมือวัดสวิตซ์ หลอดไฟ Thermostat รีเลย์
แคดเมียม ใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ IR Detector จอภาพ รังสี แคโทด ผสมในพีวีซี
แคดเมียม 6 ผงสี ป้องกันการกัดกร่อนใน Heat Exchange
คลอรีน ฉนวนสายไฟ
อาร์เซนิก (สารหนู) ในอุปกรณ์ความถี่สูง ในแผงวงจรไฟฟ้าของโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยตัวเองเป็นสารพิษอันตราย และถ้าไปรวมกับวัสดุมีค่าอื่น ๆ เช่นทองแดง ก็จะทำให้ทองแดงปนเปื้อนอันตรายไปด้วย

การรับมือกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่ทั่วโลกตื่นตัวการรับมือขยะอิเล็กทรอนิกส์ สหภาพยุโรปได้ออกระเบียบว่าด้วยเศษซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment: WEEE) และ ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (The Restriction of the use of certain Hazardous Substance in electrical and electronic equipment: RoHS) โดยใช้บังคับกับผู้นำเข้าสินค้าดังกล่าว และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งกำหนดให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวม กู้คืนและกำจัดอุปกรณ์ที่ผู้บริโภคไม่ใช้งานแล้ว เพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักถึงผลกระทบจากการทิ้งอุปกรณ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ต่อไป หรืออุปกรณ์ที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้วให้นำอุปกรณ์เหล่านี้กลับไปใช้ใหม่ หรือนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี และการรณรงค์ให้บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้พิจารณาและปรับปรุงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น

 “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเทคโนโลยีด้วยเหตุดังกล่าว ประเทศที่พัฒนาแล้วจึงมีการส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศกำลังพัฒนาเป็นประจำ ซึ่งยังไม่มีกฎหมายหรือไม่มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองคนงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งการรีไซเคิลขยะในประเทศกำลังพัฒนายังมีต้นทุนถูกกว่า เช่น ต้นทุนการรีไซเคิลกระจกจากจอคอมพิวเตอร์ในสหรัฐฯ คิดเป็น 0.5 เหรียญต่อน้ำหนัก 1 ปอนด์ เทียบกับ 0.05 เหรียญในประเทศจีน และหลายครั้งการส่งออกดังกล่าวเป็นการละเมิดอนุสัญญาบาเซล (มาตรการสกัดกั้นการลักลอบเคลื่อนย้ายซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งในประเทศอื่น) และจากการตรวจสอบท่าเรือ 18 แห่งในยุโรปเมื่อปี 2548 พบว่า มากถึงร้อยละ 47 ของขยะเหล่านี้ซึ่งรวมทั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกส่งออกไปอย่างผิดกฎหมาย เฉพาะในอังกฤษ ขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 23,000 เมตริกตันถูกส่งออกอย่างผิดกฎหมายโดยไม่มีการระบุว่าเป็นสินค้าประเภทใดในปี 2546 ไปยังตะวันออกไกลไม่ว่าจะเป็นอินเดีย แอฟริกาและจีน ในสหรัฐฯ ประมาณกันว่าร้อยละ 50-80 ของขยะที่ถูกรวบรวมเพื่อการรีไซเคิล ก็จะถูกส่งออกไปในลักษณะเดียวกัน แต่การกระทำเช่นนื้ถือว่าถูกกฎหมายเพราะว่าสหรัฐฯ ไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาบาเซล

เมื่อขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังเป็นปัญหาสำคัญกับสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ริเริ่ม “โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมโครงการใหม่ เพื่อแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์” (Solving the E-Waste Problem : StEP) ขึ้นมา เพื่อรณรงค์ลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ภายใต้ความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ บริษัท ไมโครซอฟท์, บริษัท อีริคสัน, บริษัท ฮิวเลตต์แพคการ์ด (เอชพี) และบริษัทเดลล์ เป็นต้น

การรณรงค์ลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเริ่มตั้งแต่การจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำไปใช้อีก (Recycle)

การใช้ซ้ำ (Reuse) เป็นการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว และที่ไม่ต้องการใช้กลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง อาจจะนำมาซ่อมแซม หรือนำไปบริจาคให้กับผู้ที่ขาดแคลน ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่าง สหรัฐอเมริกา ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลิกใช้แล้ว ไปบริจาคให้ประเทศที่กำลังพัฒนาในแถบแอฟริกาและเอเชีย


การรีไซเคิล (Recycle) เป็นการนำส่วนที่ยังเป็นประโยชน์ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแยกส่วนประกอบและวัตถุที่มีค่าภายในออกมา อาทิ โลหะมีค่า เงิน ทองคำขาว และทองแดง เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปรีไซเคิลและนำไปผลิตอุปกรณ์อย่างอื่นได้อีกทางหนึ่งด้วย

แม้ว่าจะเราจะมีวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เพื่อรณรงค์ให้คนรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ปัญหาเกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์คงไม่สามารถจบลงได้ด้วยการรณรงค์เพียงแค่ปีละ 1 วันเท่านั้น หากแต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างจิตสำนึกในการใช้งานเทคโนโลยี ทั้งในส่วนของผู้ผลิตและผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็ดี การเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือตามแฟชั่นก็ดี การผลิตสินค้าไอทีที่ต่ำกว่ามาตรฐานออกมาวางจำหน่ายก็ดี ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป สักวันหนึ่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็คงจะล้นเมือง

โปรดช่วยกันก่อนที่ประเทศไทยจะเต็มไปด้วยขยะอิเล็กทรอนิกส์
 
อ้างอิง: www.okanation.net




บทความสีเขียว

ฟางข้าวประโยชน์มากกว่าที่คิด คิดสักนิดก่อนเผา วันที่ 25/08/2022   14:30:50 article
ประชุมออนไลน์ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 94% วันที่ 12/01/2022   13:21:00
การปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ภัยคุกคามสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่กำลังส่งผลสะท้อนกลับมายังมนุษย์ วันที่ 17/08/2020   14:50:58 article
อุตสาหกรรมสีเขียว วันที่ 28/01/2020   10:50:39 article
ไทยตั้งเป้าลด ขยะพลาสติก 50% ภายในอีก 9ปี วันที่ 06/07/2018   11:33:47 article
ขีดเส้น 1 ปี เลิกผลิตพลาสติกหุ้มฝาขวด หวังลดขยะ 520 ตัน วันที่ 05/07/2018   14:55:38 article
แสงอาทิตย์ท่ามกลางฝันร้ายทรายน้ำมัน วันที่ 02/07/2016   18:52:08
บรรลุข้อตกลงโลกร้อน วันที่ 05/01/2016   20:28:09 article
น้ำในเขื่อนใหญ่แห้งขอด! บราซิลประสบภัยแล้งหนักสุดในรอบ 80 ปี วันที่ 05/01/2016   20:31:44
‘สเปิร์มปลาแซลมอน’ช่วยรักษ์โลก วันที่ 01/02/2015   23:04:24
ตรวจดูยางรถให้เป็นยางรักษ์โลก วันที่ 30/01/2015   20:40:01
ตัวเลขกับรถคันแรก วันที่ 30/01/2015   20:39:45
"ไทย" คิดครั้งแรกของโลก! เทคนิคผลิต "ยาง" ล้ำยุค-ไร้มลพิษ วันที่ 30/01/2015   20:42:33 article
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม AEC ต้องไม่ละเลย วันที่ 18/06/2012   20:32:13 article
7 วิธี เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเล่นน้ำสงกรานต์ วันที่ 22/04/2012   17:04:10
10 นวัตกรรมวิทย์ไทย-ใช้ได้ทันที วันที่ 03/02/2015   19:45:53 article
10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง วันที่ 07/01/2012   13:02:01 article
ช่วยต้นไม้ ให้รอดจากน้ำท่วม วันที่ 08/12/2011   09:26:35 article
สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม วันที่ 10/10/2011   21:02:26
กรมอุทยานฯดีเดย์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ประเมินคุณค่าระบบนิเวศ วันที่ 04/09/2011   10:33:55
“เครื่องทอฟาง” นวัตกรรมใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อม แปลง “เศษฟางข้าว ใบหญ้า” ให้เป็นเงินทอง วันที่ 04/09/2011   10:34:33 article
จับตา โซล่าฟาร์มธุรกิจใหม่มาแรง วันที่ 04/09/2011   10:36:36 article
ไบโอดีเซลจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:41:49 article
น้ำมันในอนาคตสกัดจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:42:23 article
พลังงานนิวเคลียร์ และรังสี วันที่ 04/09/2011   10:42:57
กัมมันตภาพรังสี วันที่ 04/09/2011   10:43:12
หนาวนี้...ทานอาหารแบบประหยัดพลังงาน วันที่ 04/09/2011   10:43:29 article
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ด้านสิ่งแวดล้อม) วันที่ 04/09/2011   10:43:52 article
อุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry) วันที่ 04/09/2011   10:44:08 article
"กรีนบอร์ด" วัสดุทดแทนไม้จากกล่องเครื่องดื่มรีไซเคิล วันที่ 04/09/2011   10:44:24 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค2 วันที่ 04/09/2011   10:45:19 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค1 วันที่ 04/09/2011   10:45:40 article
ผักอินทรีย์...มองไกลไปกว่าวิตามิน วันที่ 04/09/2011   10:45:55 article
"7 กรีนส์" วิธีท่องเที่ยว แบบคนรักษ์โลก วันที่ 04/09/2011   10:46:07
ติดผนังสีเขียวให้เย็นตารับหน้าร้อน วันที่ 04/09/2011   10:46:27 article
Dangerous Zones เมื่อฟ้าฝนวิปริต โลกจะเป็นอย่างไรในวันพรุ่ง... วันที่ 04/09/2011   10:47:04 article
ไบโอพลาสติก ทางเลือกใหม่สำหรับโลกในอนาคต วันที่ 04/09/2011   10:47:16 article
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่2 วันที่ 04/09/2011   10:47:39
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่1 วันที่ 04/09/2011   10:48:16 article
"ยางธรรมชาติ" เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร? วันที่ 04/09/2011   10:48:31 article
"ไฮโดรเจน" พลังงานขับเคลื่อนโลกยุคใหม่ วันที่ 04/09/2011   10:48:51 article
GreenTransformer "6 in 1 Solar Robot Kit" วันที่ 04/09/2011   10:49:09 article
พลังงานทดแทน วันที่ 04/09/2011   10:49:25
กระบวนการไพโรไลซิสน้ำมันจากยางรถยนต์เสื่อมสภาพ วันที่ 03/02/2015   19:42:08
ฉลากคาร์บอน วันที่ 04/09/2011   10:50:04 article
คาร์บอนเครดิต วันที่ 01/12/2010   19:31:38 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท รับเบอร์ กรีน จำกัด | RUBBER GREEN COMPANY LIMITED

58 ซ.พระยามนธาตุฯ แยก 19 (ดี.เค.30) แขวงคลองบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 10150
58, Soi Prayamonthat Yaek 19, Klongbangbon, Bangbon, Bangkok 10150 Thailand

Tel: +66 (0) 2417 1392, 08 1808 1391   Fax: +66 (0) 2416 9312 Email: rubbergreen@yahoo.co.th

"ผู้ผลิต และจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด"