ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
dot
bulletขึ้นรูปยาง
bulletยางแผ่น
bulletลูกกลิ้งอุตสาหกรรม
bulletซีลยาง-ท่อยาง
bulletพื้นรองเท้ายาง
dot
dot
bulletวิธีการชำระเงิน
dot
dot
bulletแผนที่บริษัท
bulletเอกสาร (แบบฟอร์ม)
dot
dot
bulletคุณสมบัติยาง
bulletบทความสีเขียว
bulletบทความลูกกลิ้ง
bulletค่าบริการไปรษณีย์
dot

dot
bulletติดต่อสอบถาม
dot
dot
ตรวจสอบสถานะ EMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน




dot
คาร์บอนเครดิต article
วันที่ 01/12/2010   19:31:38

"คาร์บอนเครดิต": ธุรกิจมลพิษกู้โลกร้อน

  

 "ราคาคาร์บอนเครดิตพุ่ง? ยุโรปซื้อ 7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน" "ปลูกป่าขายคาร์บอนเครดิต ลดภาวะโลกร้อน" "ฟาร์มหมูตั้งเป้าขายคาร์บอนเครดิต" "สร้างโรงงานใหม่ประหยัดพลังงานแบ่งขายคาร์บอนเครดิตได้กำไร" ฯลฯ 

  หัวข้อการซื้อขาย "คาร์บอนเครดิต" กำลังเป็นบทสนทนาสำคัญของนักธุรกิจเอกชนขนาด เล็ก และเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมถึงวงเสวนานักวิชาการด้าน พลังงานและสิ่งแวดล้อม

 

 


คาร์บอนเครดิต(Carbon Credit) คืออะไร

สืบเนื่องจากพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดประมาณการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก หรือกรีนเฮ้าส์เอฟเฟคท์ ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัส ออกไซด์ ฯลฯ

พิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วัน ที่16 กุมภาพันธ์ 2549 หากประเทศที่ลงนาม เช่น สหภาพ ยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น ไม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 5.2% ในปี 2551-2555 จะมีค่าปรับถึงตันละ 2,000-5,000 บาท  

สถิติจาก World Resources 2005 ระบุว่าสหรัฐปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดปีละ 5.7 พันล้านตัน อันดับ 2 คือจีน 3.4 พันล้านตัน อันดับ 3 คือ รัสเซีย 1.5 พันล้านตัน ญี่ปุ่น 1.2 พันล้านตัน อังกฤษ 558 ล้านตัน ส่วนไทย 172 ล้านตัน

ดังนั้น "การซื้อขายคาร์บอนเครดิต" จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่กำหนดออกมาพิเศษ เพื่อช่วยให้ประเทศตัวการปล่อยก๊าซพิษไม่ต้องถูกลงโทษ

"คาร์บอนเครดิต" หมายถึง สิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันดิบในโรงงานอุตสาหกรรม หรือยานยนต์ หากประเทศพัฒนาแล้วไม่สามารถลดมลพิษของตนได้อีกต่อไป ก็ต้องใช้วิธีช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อลดได้จะกลายเป็นคาร์บอนเครดิตของตนเอง ทำให้ไม่ต้องจ่าย ค่าปรับเช่น การปลูกป่าไม้ 2.5 ไร่ จะสามารถเก็บคาร์บอนเครดิตได้ 2 ตัน การใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนน้ำมัน 1 หน่วยจะได้เครดิตประมาณ 0.6 กิโลกรัม

ตัวอย่างเช่นประเทศ A อยู่ในยุโรป ถูกกำหนดให้ลดก๊าซเรือนกระจก 50 ล้านตัน แต่โรงงานอุตสาหกรรม หรือโครงการที่มีใน ประเทศ A พยายามลดสุดๆแล้ว ลดได้เพียง 30 ล้านตัน จึงต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศกำลังพัฒนามาอีก 20 ล้านตัน ไม่เช่นนั้นจะโดนปรับ ตัน ละ 3,000 บาทก็ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท 

ประเทศ จึงติดต่อไปที่ ฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศ เพื่อช่วยสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ เมื่อสร้างเสร็จทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าฟาร์มหมูลด ลงเดือนละ 2 ล้านบาท ถือเป็นการลดจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม สมมติว่าลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 1 ล้านตัน จำนวนที่ลดได้ จะถูกเรียกว่า "คาร์บอนเครดิต" ซึ่งประเทศ A จะได้คาร์บอนเครดิต 1 ล้านตันไป รวมกับ 30 ล้านตันที่มีอยู่ หรือในอนาคตฟาร์มหมูที่อยู่ใกล้เคียงอาจใช้เทคโนโลยีเดียวกัน มาลงทุนสร้างโรงงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพเอง แล้วขายคาร์บอนเครดิตให้ประเทศ A ก็ได้ 

ทั้งนี้หน่วยงาน หรือบริษัทที่จะซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตได้ ต้องผ่านมาตรฐานตาม "โครงการซีดีเอ็ม" หรือโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM Project-Carbon Credit) และ ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้มติอนุมัติการขึ้นทะเบียน 3 โครงการแรกของไทย เพื่อให้สามารถขายคาร์บอนเครดิตตามข้อตกลงได้ คือ 

1.โรงไฟฟ้าด่านช้างไบโอเอนเนอร์ยี่

2.โครงการโรงไฟฟ้าพลังแกลบ ของบริษัท เอ.ที.ไบโอเพาเวอร์ จำกัด

3.โครงการไบโอแมสของโรงไฟฟ้าขอนแก่น

สำหรับโรงไฟฟ้าขอนแก่นที่นำชานอ้อยมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้านั้น มีการประเมินว่าจะสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 5.7 หมื่นตันต่อปี หากนำคาร์บอนเครดิตมาซื้อขายจะได้ประมาณ  21 ล้านบาท

ล่าสุดมีอีก 45 บริษัทที่เสนอขอเข้าโครงการซีดีเอ็ม เพราะราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงระดับ 7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันแล้ว โครงการส่วนใหญ่ร้อยละ 50 จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) เช่น การผลิตก๊าซจากน้ำเสีย อันดับ 2 คือ ด้านเทคโนโลยีชีวมวล (ไบโอแมส) ร้อยละ 25 ส่วนที่เหลือเป็นโครงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โครงการแปลงขยะชุมชนเป็นพลังงานด้านคมนาคมขนส่ง ฯลฯ

"คาร์บอนเครดิต" กำลังกลายเป็นธุรกิจซื้อขายมลพิษ ที่มีแนวโน้มทำเงินมหาศาลในอนาคต รัฐบาลปัจจุบันจึงออกพระราชกฤษฎีกา "จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2550"  มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมา หรือที่เรียกย่อว่า อบก. หรือ "TGO" (Thailand Greenhouse Gas Management Organization)

การจัดตั้งอบก.มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาโครงการ และตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง รวมถึงเป็นศูนย์กลางข้อมูลดำเนินงาน และให้ทุนสนับสนุนการดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก

แม้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตจะมีข้อดีคือ ทำให้ประเทศพัฒนาไม่ต้องเจอค่าปรับจากพิธีสารเกียวโต ขณะที่ประเทศด้อยพัฒนาก็ได้รับการสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีสะอาด เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน

แต่มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งออกมาเตือนว่าหากประเทศกำลังพัฒนา เช่น ไทย ลาว เวียดนาม นำคาร์บอนเครดิตมาขายจนหมดสิ้น จะกลายเป็นภาระผูกพันถึงอนาคต หากมีข้อตกลงใหม่ที่กำหนดให้ประเทศด้อยพัฒนาต้องช่วยลดก๊าซเรือนกระจกด้วย ประเทศเหล่านี้ก็จะไม่มีคาร์บอนเครดิตเหลือ เพราะขายล่วงหน้าไปหมดแล้ว

ศ.ดร.สุรพงศ์ จิระรัตนานนท์ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานกล่าวแนะนำว่า ไทย ควรมีการเก็บคาร์บอนเครดิตไว้บ้าง เพราะอีก 10 ปีข้างหน้า อาจต้องถูกบังคับให้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน เมื่อถึงเวลานั้นอาจไม่มีคาร์บอนเครดิตเหลือ เพราะขายล่วงหน้าให้ประเทศอื่นหมดแล้ว ราคาที่ขายได้ก็ต่ำกว่าจำนวนที่กำหนดให้จ่ายค่าปรับหลายเท่า ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องประเมินสถานการณ์ในอนาคตเผื่อไว้ด้วย นอกจากนี้ควรมีการลดการใช้พลังงานด้านอื่น พร้อมกัน เนื่องจากภาคธุรกิจไทยมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสิ้นเปลืองอย่างมาก

ศ.ดร.สุรพงศ์ ยกตัวอย่างตึกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งย่านถนนรัชดาภิเษก ว่ามีการใช้พลังงานไฟฟ้าเทียบเท่ากับเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว เพราะต้องเปิดไฟ และแอร์ตลอดทั้งวัน หน่วยงานรัฐควรใช้นโยบายเหมือนเกาหลีใต้ ที่ออกกฎข้อบังคับให้สถานที่ราชการเปิดเครื่องปรับอากาศไว้ที่อุณหภูมิ 26 องศา ส่วนที่มาเลเซียก็พยายามสร้างอาคารแบบใหม่ที่ประหยัดพลังงานจากเดิม 3-5 เท่า โดยการประหยัดพลังงานไฟฟ้าส่วนนี้อาจนำมาเป็นคาร์บอนเครดิตขายในอนาคตได้

อยากขาย "คาร์บอนเครดิต" ต้องทำอย่างไร 

ต้องเป็นโครงการเกี่ยวข้องกับนโยบายช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่น ผลิตพลังงาน ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง แปลงขยะเป็นพลังงาน พัฒนาประสิทธิภาพการคมนาคม ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ที่เรียกกันว่า โครงการซีดีเอ็ม หรือ โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)

โครงการซีดีเอ็ม สร้างขึ้นโดยพิธีสารเกียวโต เพื่อช่วยให้ประเทศพัฒนาแล้ว สามารถไปลงทุนโครงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา เช่น โครงการสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงหมู ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของโครงการซีดีเอ็ม

เจ้าของโครงการประเภทกลไกการพัฒนาที่สะอาด หรือ โครงการซีดีเอ็มนั้นก่อนจะตกลงซื้อขายคาร์บอนเครดิตต้องมีการขอใบ รับรอง CERs (Certified Emission Reductions) จากสหประชาชาติก่อนทั้งนี้ เจ้าของกรรมสิทธิ์ CERs อาจมีทั้งโรงงานไฟฟ้าเอกชน ฟาร์มหมู โครงการปลูกป่า ซึ่งเป็นตัวเจ้าของโครงการไม่ใช่รัฐบาล นอกจากรัฐบาลจะเป็นเจ้าของโครงการเอง

ขั้นตอนสำคัญในการขอใบรับรอง CERs คือ

1.ยื่นโครงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกไปที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

2.เสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา

3.ส่งเอกสารให้สหประชาชาติรับรองเพื่อออก CERs

ขณะนี้ "บริษัทบริการสิ่งแวดล้อม" (Environmetal Service) กำลังเป็นธุรกิจใหม่ที่ต่างชาติทยอยเปิดในเมืองไทย เพื่อช่วยบริษัท หรือเจ้าของโรงงานที่ต้องการเป็นโครงการซีดีเอ็ม เช่น แนะนำขั้นตอนทำเอกสาร ขอ "CERs" หรือช่วยเป็นที่ปรึกษาการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเช่น ให้คำปรึกษาการออกแบบโครงการ ธุรกิจตรวจประเมิน และรับรองโครงการธุรกิจตัวกลางซื้อขาย กับต่างประเทศ ฯลฯ

 

อ้างอิง: นสพ.คมชัดลึก

 




บทความสีเขียว

ฟางข้าวประโยชน์มากกว่าที่คิด คิดสักนิดก่อนเผา วันที่ 25/08/2022   14:30:50 article
ประชุมออนไลน์ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 94% วันที่ 12/01/2022   13:21:00
การปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ภัยคุกคามสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่กำลังส่งผลสะท้อนกลับมายังมนุษย์ วันที่ 17/08/2020   14:50:58 article
อุตสาหกรรมสีเขียว วันที่ 28/01/2020   10:50:39 article
ไทยตั้งเป้าลด ขยะพลาสติก 50% ภายในอีก 9ปี วันที่ 06/07/2018   11:33:47 article
ขีดเส้น 1 ปี เลิกผลิตพลาสติกหุ้มฝาขวด หวังลดขยะ 520 ตัน วันที่ 05/07/2018   14:55:38 article
แสงอาทิตย์ท่ามกลางฝันร้ายทรายน้ำมัน วันที่ 02/07/2016   18:52:08
บรรลุข้อตกลงโลกร้อน วันที่ 05/01/2016   20:28:09 article
น้ำในเขื่อนใหญ่แห้งขอด! บราซิลประสบภัยแล้งหนักสุดในรอบ 80 ปี วันที่ 05/01/2016   20:31:44
‘สเปิร์มปลาแซลมอน’ช่วยรักษ์โลก วันที่ 01/02/2015   23:04:24
ตรวจดูยางรถให้เป็นยางรักษ์โลก วันที่ 30/01/2015   20:40:01
ตัวเลขกับรถคันแรก วันที่ 30/01/2015   20:39:45
"ไทย" คิดครั้งแรกของโลก! เทคนิคผลิต "ยาง" ล้ำยุค-ไร้มลพิษ วันที่ 30/01/2015   20:42:33 article
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม AEC ต้องไม่ละเลย วันที่ 18/06/2012   20:32:13 article
7 วิธี เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเล่นน้ำสงกรานต์ วันที่ 22/04/2012   17:04:10
10 นวัตกรรมวิทย์ไทย-ใช้ได้ทันที วันที่ 03/02/2015   19:45:53 article
10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง วันที่ 07/01/2012   13:02:01 article
ช่วยต้นไม้ ให้รอดจากน้ำท่วม วันที่ 08/12/2011   09:26:35 article
สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม วันที่ 10/10/2011   21:02:26
กรมอุทยานฯดีเดย์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ประเมินคุณค่าระบบนิเวศ วันที่ 04/09/2011   10:33:55
“เครื่องทอฟาง” นวัตกรรมใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อม แปลง “เศษฟางข้าว ใบหญ้า” ให้เป็นเงินทอง วันที่ 04/09/2011   10:34:33 article
จับตา โซล่าฟาร์มธุรกิจใหม่มาแรง วันที่ 04/09/2011   10:36:36 article
ไบโอดีเซลจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:41:49 article
น้ำมันในอนาคตสกัดจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:42:23 article
พลังงานนิวเคลียร์ และรังสี วันที่ 04/09/2011   10:42:57
กัมมันตภาพรังสี วันที่ 04/09/2011   10:43:12
หนาวนี้...ทานอาหารแบบประหยัดพลังงาน วันที่ 04/09/2011   10:43:29 article
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ด้านสิ่งแวดล้อม) วันที่ 04/09/2011   10:43:52 article
อุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry) วันที่ 04/09/2011   10:44:08 article
"กรีนบอร์ด" วัสดุทดแทนไม้จากกล่องเครื่องดื่มรีไซเคิล วันที่ 04/09/2011   10:44:24 article
“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเทคโนโลยี วันที่ 04/09/2011   10:44:54 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค2 วันที่ 04/09/2011   10:45:19 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค1 วันที่ 04/09/2011   10:45:40 article
ผักอินทรีย์...มองไกลไปกว่าวิตามิน วันที่ 04/09/2011   10:45:55 article
"7 กรีนส์" วิธีท่องเที่ยว แบบคนรักษ์โลก วันที่ 04/09/2011   10:46:07
ติดผนังสีเขียวให้เย็นตารับหน้าร้อน วันที่ 04/09/2011   10:46:27 article
Dangerous Zones เมื่อฟ้าฝนวิปริต โลกจะเป็นอย่างไรในวันพรุ่ง... วันที่ 04/09/2011   10:47:04 article
ไบโอพลาสติก ทางเลือกใหม่สำหรับโลกในอนาคต วันที่ 04/09/2011   10:47:16 article
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่2 วันที่ 04/09/2011   10:47:39
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่1 วันที่ 04/09/2011   10:48:16 article
"ยางธรรมชาติ" เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร? วันที่ 04/09/2011   10:48:31 article
"ไฮโดรเจน" พลังงานขับเคลื่อนโลกยุคใหม่ วันที่ 04/09/2011   10:48:51 article
GreenTransformer "6 in 1 Solar Robot Kit" วันที่ 04/09/2011   10:49:09 article
พลังงานทดแทน วันที่ 04/09/2011   10:49:25
กระบวนการไพโรไลซิสน้ำมันจากยางรถยนต์เสื่อมสภาพ วันที่ 03/02/2015   19:42:08
ฉลากคาร์บอน วันที่ 04/09/2011   10:50:04 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท รับเบอร์ กรีน จำกัด | RUBBER GREEN COMPANY LIMITED

58 ซ.พระยามนธาตุฯ แยก 19 (ดี.เค.30) แขวงคลองบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 10150
58, Soi Prayamonthat Yaek 19, Klongbangbon, Bangbon, Bangkok 10150 Thailand

Tel: +66 (0) 2417 1392, 08 1808 1391   Fax: +66 (0) 2416 9312 Email: rubbergreen@yahoo.co.th

"ผู้ผลิต และจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด"