ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
dot
bulletขึ้นรูปยาง
bulletยางแผ่น
bulletลูกกลิ้งอุตสาหกรรม
bulletซีลยาง-ท่อยาง
bulletพื้นรองเท้ายาง
dot
dot
bulletวิธีการชำระเงิน
dot
dot
bulletแผนที่บริษัท
bulletเอกสาร (แบบฟอร์ม)
dot
dot
bulletคุณสมบัติยาง
bulletบทความสีเขียว
bulletบทความลูกกลิ้ง
bulletค่าบริการไปรษณีย์
dot

dot
bulletติดต่อสอบถาม
dot
dot
ตรวจสอบสถานะ EMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน




dot
จับตา โซล่าฟาร์มธุรกิจใหม่มาแรง article
วันที่ 04/09/2011   10:36:36

 

 จับตา โซล่าฟาร์มธุรกิจใหม่มาแรง อินเทรนด์อนาคตพลังงานทดแทนไทย  

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น และการที่พลังงานในโลกเริ่มจะขาดแคลน ทำให้การลงทุนในเรื่องพลังงานทางเลือกได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งในส่วนของการลงทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และในส่วนของภาคเอกชนที่เริ่มเห็นช่องทางการลงทุนในพลังงานทางเลือกมากขึ้น ถึงแม้จะต้องใช้เงินลงทุนที่สูง ในระยะเริ่มต้น แต่ก็มีธนาคารพาณิชย์พร้อมที่จะสนับสนุนในเรื่องเงินทุน เพราะการที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มเข้าไปมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ และวิจัย ทำให้รู้ถึงผลกระทบ และความเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้ ทำให้ธุรกิจพลังงานทางเลือกยังมีช่องทางที่ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก

นางวันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการ และกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท  โซล่าเพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 67 ล้านคน และมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 30,000 เมกะวัตต์ต่อปี แบ่งเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (EGAT) ประมาณ 48% หรือ 14,328 เมกะวัตต์ กลุ่มไอพีพี ผู้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเกิน 100 เมกะวัตต์ ประมาณ 40% กลุ่มเอสพีพีหรือกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่มีกำลังการผลิตน้อยกว่า 100 เมกะวัตต์ ประมาณ 7% และในส่วนของการนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านอีกประมาณ 5% แต่ในโครงการ โซล่าฟาร์มจะเรียกว่าวีเอสพีพีหรือผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมากต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ ซึ่งสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าให้ประเทศของกลุ่มนี้น้อยกว่า 1% ซึ่งถ้าดูกลุ่มที่ใช้ไฟมากที่สุดในประเทศไทยก็จะอยู่ที่ภาคอุตสาหกรรม 36.5% และภาคธุรกิจประมาณ 36.2% เพราะประเทศไทยยังไม่มีรถไฟรางเดี่ยวหรือรางคู่ในการขนส่ง ซึ่งคาดว่าหากประเทศไทยยังคงใช้กำลังการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในระดับปัจจุบัน ก็จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติได้อีกเพียงแค่ 28 ปี 

ทำให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้ออกแผนล่าสุด คือ แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2553-2573 (PDP 2010) เพื่อให้เกิดความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และจะเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงไฟฟ้า การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนร่วมกัน (Cogeneration) รวมทั้งโครงการที่มีความชัดเจนในการดำเนินการ ได้แก่ การรับซื้อไฟฟ้าจาก เอสพีพี ระบบ Cogeneration และการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ตลอดจนการกำหนดปริมาณพลังงานหมุนเวียนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี เพื่อให้เกิดความชัดเจนในด้านการหาไฟฟ้าของประเทศ และการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านพลังงาน เนื่องจากการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเป็น 5 หมื่นกว่าเมกะวัตต์ในปี 65 และแผนล่าสุดนี้ก็จะทำขึ้นเพื่อลดปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติให้เหลือ 44% จากปัจจุบันอยู่ที่ 70% กว่า

      ทางบริษัทจึงได้มีการริเริ่มทำโครงการ โซล่าฟาร์ม ซึ่งเป็นแผนการลงทุนผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 34 โครงการ กำลังผลิต 204 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุน 2.4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการเสร็จในปี 2556 โดยจะเน้นลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความเข้มข้นของรังสีสูง ได้แก่

1) จ.นครราชสีมา 9 แห่ง กำลังผลิต 54 เมกะวัตต์ เงินลงทุนประมาณ 6,300 ล้านบาท

2) จ.ขอนแก่น 10 แห่ง กำลังผลิต 60 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 7,000 ล้านบาท

3) จ.บุรีรัมย์ 3 แห่ง กำลังผลิต 18 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 2,100 ล้านบาท

4) จ.สุรินทร์ 3 แห่ง กำลังผลิต 18 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 2,100 ล้านบาท

5) จ.นครพนม 3 แห่ง กำลังผลิต 18 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 2,100 ล้านบาท

6) จ.สกลนคร 2 แห่ง กำลังผลิต 12 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 1,400 ล้านบาท

7) จ.ร้อยเอ็ด 2 แห่ง กำลังผลิต 12 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 1,400 ล้านบาท

8) จ.หนองคาย 1 แห่ง กำลังผลิต 6 เมกะวัตต์

และ 9) จ.อุดรธานี 1 แห่ง กำลังผลิต 6 เมกะวัตต์

เงินลงทุนแห่งละ 700 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้ลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไปแล้ว 3 โครงการ ที่แห่งแรกคือ “ โซล่าฟาร์ม โคราช 1” กำลังผลิต 6 เมกะวัตต์ ที่ ต.ดอนชมพู อ.โนนสูง ซึ่งใช้เงินลงทุนกว่า 700 ล้านบาท และติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ร่วม 3 หมื่นแผง บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ เริ่มจำหน่ายไฟไปตั้งแต่วันที่ 21 เม.ย.53 และโครงการ โซล่าฟาร์มแห่งที่ 2 ภายใต้บริษัท โซล่า เพาเวอร์ (สกลนคร 1) สามารถจำหน่ายไฟได้ตั้งแต่เดือน ก.พ.54 และโครงการ โซล่า เพาเวอร์แห่งที่ 3 ภายใต้บริษัท  โซล่า เพาเวอร์ (นครพนม 1) สามารถจำหน่ายไฟได้ตั้งแต่เดือน มี.ค.54 และขณะนี้กำลังก่อสร้างอีก 2 โครงการ คาดว่าจะจำหน่ายไฟได้ภายในเดือนหน้า ทำให้แผนการสร้าง โซล่าฟาร์มอีก 29 โครงการที่เหลือคาดว่าจะเสร็จตามเป้าในปี 56 อย่างแน่นอน และจากการที่แผง โซลาร์เซลล์มีราคาแพงมาก ส่งผลให้มีการกำหนดเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนในรูปของเงินช่วยส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (adder) บวกเข้าไปกับราคาขายไฟฟ้าให้กับรัฐ (กฟผ.-กฟภ.-กฟน.) ทำให้บริษัท โซล่า เพาเวอร์ ได้รับเงินเพิ่มค่าไฟฟ้า (adder) สูงถึง 8 บาท/หน่วย ในทุกโครงการ จากปัจจุบันที่เงินส่วนเพิ่มถูกลดลงไปเหลือเพียง 6.50 บาท/หน่วย เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์มีราคาถูกลง จัดเป็นข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มาทีหลัง

“โครงการลงทุนดังกล่าว เราใช้เงินกู้ประมาณ 60-70% ที่เหลือใช้เงินหมุนเวียนของบริษัท โดยโครงการแรกนั้นได้รับสินเชื่อจากธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นโครงการด้านพลังงานสะอาดโครงการแรกของธนาคาร และคาดว่าจะได้รับสินเชื่อในโครงการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง” นางวันดี กล่าว 

ทั้งนี้ การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แบ่งเป็นการลงทุนแผงพลังงานแสงอาทิตย์ 70% ซึ่งบริษัทเลือกใช้แผงจากบริษัทเคียวเซร่าจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิต 1 ใน 5 ของโลก ส่วนเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ใช้ของบริษัท SMA จากเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเชื่อว่าหากบริษัทลงทุนครบทั้ง 34 จุด จะทำให้ต้นทุนต่ำลงแน่นอน จากปัจจุบันอยู่ที่ 120 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ 

“การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่สะอาด ปราศจากมลภาวะที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษาน้อย และยังสามารถพัฒนาคาร์บอนเครดิต เพื่อช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย” นางวันดี กล่าว

อ้างอิง: www.green.in.th



บทความสีเขียว

ฟางข้าวประโยชน์มากกว่าที่คิด คิดสักนิดก่อนเผา วันที่ 25/08/2022   14:30:50 article
ประชุมออนไลน์ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 94% วันที่ 12/01/2022   13:21:00
การปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ภัยคุกคามสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่กำลังส่งผลสะท้อนกลับมายังมนุษย์ วันที่ 17/08/2020   14:50:58 article
อุตสาหกรรมสีเขียว วันที่ 28/01/2020   10:50:39 article
ไทยตั้งเป้าลด ขยะพลาสติก 50% ภายในอีก 9ปี วันที่ 06/07/2018   11:33:47 article
ขีดเส้น 1 ปี เลิกผลิตพลาสติกหุ้มฝาขวด หวังลดขยะ 520 ตัน วันที่ 05/07/2018   14:55:38 article
แสงอาทิตย์ท่ามกลางฝันร้ายทรายน้ำมัน วันที่ 02/07/2016   18:52:08
บรรลุข้อตกลงโลกร้อน วันที่ 05/01/2016   20:28:09 article
น้ำในเขื่อนใหญ่แห้งขอด! บราซิลประสบภัยแล้งหนักสุดในรอบ 80 ปี วันที่ 05/01/2016   20:31:44
‘สเปิร์มปลาแซลมอน’ช่วยรักษ์โลก วันที่ 01/02/2015   23:04:24
ตรวจดูยางรถให้เป็นยางรักษ์โลก วันที่ 30/01/2015   20:40:01
ตัวเลขกับรถคันแรก วันที่ 30/01/2015   20:39:45
"ไทย" คิดครั้งแรกของโลก! เทคนิคผลิต "ยาง" ล้ำยุค-ไร้มลพิษ วันที่ 30/01/2015   20:42:33 article
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม AEC ต้องไม่ละเลย วันที่ 18/06/2012   20:32:13 article
7 วิธี เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเล่นน้ำสงกรานต์ วันที่ 22/04/2012   17:04:10
10 นวัตกรรมวิทย์ไทย-ใช้ได้ทันที วันที่ 03/02/2015   19:45:53 article
10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง วันที่ 07/01/2012   13:02:01 article
ช่วยต้นไม้ ให้รอดจากน้ำท่วม วันที่ 08/12/2011   09:26:35 article
สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม วันที่ 10/10/2011   21:02:26
กรมอุทยานฯดีเดย์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ประเมินคุณค่าระบบนิเวศ วันที่ 04/09/2011   10:33:55
“เครื่องทอฟาง” นวัตกรรมใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อม แปลง “เศษฟางข้าว ใบหญ้า” ให้เป็นเงินทอง วันที่ 04/09/2011   10:34:33 article
ไบโอดีเซลจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:41:49 article
น้ำมันในอนาคตสกัดจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:42:23 article
พลังงานนิวเคลียร์ และรังสี วันที่ 04/09/2011   10:42:57
กัมมันตภาพรังสี วันที่ 04/09/2011   10:43:12
หนาวนี้...ทานอาหารแบบประหยัดพลังงาน วันที่ 04/09/2011   10:43:29 article
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ด้านสิ่งแวดล้อม) วันที่ 04/09/2011   10:43:52 article
อุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry) วันที่ 04/09/2011   10:44:08 article
"กรีนบอร์ด" วัสดุทดแทนไม้จากกล่องเครื่องดื่มรีไซเคิล วันที่ 04/09/2011   10:44:24 article
“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเทคโนโลยี วันที่ 04/09/2011   10:44:54 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค2 วันที่ 04/09/2011   10:45:19 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค1 วันที่ 04/09/2011   10:45:40 article
ผักอินทรีย์...มองไกลไปกว่าวิตามิน วันที่ 04/09/2011   10:45:55 article
"7 กรีนส์" วิธีท่องเที่ยว แบบคนรักษ์โลก วันที่ 04/09/2011   10:46:07
ติดผนังสีเขียวให้เย็นตารับหน้าร้อน วันที่ 04/09/2011   10:46:27 article
Dangerous Zones เมื่อฟ้าฝนวิปริต โลกจะเป็นอย่างไรในวันพรุ่ง... วันที่ 04/09/2011   10:47:04 article
ไบโอพลาสติก ทางเลือกใหม่สำหรับโลกในอนาคต วันที่ 04/09/2011   10:47:16 article
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่2 วันที่ 04/09/2011   10:47:39
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่1 วันที่ 04/09/2011   10:48:16 article
"ยางธรรมชาติ" เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร? วันที่ 04/09/2011   10:48:31 article
"ไฮโดรเจน" พลังงานขับเคลื่อนโลกยุคใหม่ วันที่ 04/09/2011   10:48:51 article
GreenTransformer "6 in 1 Solar Robot Kit" วันที่ 04/09/2011   10:49:09 article
พลังงานทดแทน วันที่ 04/09/2011   10:49:25
กระบวนการไพโรไลซิสน้ำมันจากยางรถยนต์เสื่อมสภาพ วันที่ 03/02/2015   19:42:08
ฉลากคาร์บอน วันที่ 04/09/2011   10:50:04 article
คาร์บอนเครดิต วันที่ 01/12/2010   19:31:38 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท รับเบอร์ กรีน จำกัด | RUBBER GREEN COMPANY LIMITED

58 ซ.พระยามนธาตุฯ แยก 19 (ดี.เค.30) แขวงคลองบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 10150
58, Soi Prayamonthat Yaek 19, Klongbangbon, Bangbon, Bangkok 10150 Thailand

Tel: +66 (0) 2417 1392, 08 1808 1391   Fax: +66 (0) 2416 9312 Email: rubbergreen@yahoo.co.th

"ผู้ผลิต และจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด"