ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
dot
bulletขึ้นรูปยาง
bulletยางแผ่น
bulletลูกกลิ้งอุตสาหกรรม
bulletซีลยาง-ท่อยาง
bulletพื้นรองเท้ายาง
dot
dot
bulletวิธีการชำระเงิน
dot
dot
bulletแผนที่บริษัท
bulletเอกสาร (แบบฟอร์ม)
dot
dot
bulletคุณสมบัติยาง
bulletบทความสีเขียว
bulletบทความลูกกลิ้ง
bulletค่าบริการไปรษณีย์
dot

dot
bulletติดต่อสอบถาม
dot
dot
ตรวจสอบสถานะ EMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน




dot
กรมอุทยานฯดีเดย์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ประเมินคุณค่าระบบนิเวศ
วันที่ 04/09/2011   10:33:55

     กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) เปิดตัวโครงการเพิ่มศักยภาพการใช้มาตรการเศรษฐศาสตร์เพื่อคงคุณค่า ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ เน้นการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และการเงินเป็นตัวสร้างแรงจูงใจให้เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ 

ซึ่งดำเนินงานโดยกรมอุทยานแห่งชาติฯ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) และศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมเฮล์มฮอลท์ซ ด้วยงบประมาณโครงการรวม 80 ล้านบาท ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป รัฐบาลไทย รัฐบาลเยอรมนี และศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมเฮล์มฮอลท์ซ ในโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยโครงการจะสิ้นสุดในปี พ.ศ.2557 
    
ดร.รุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ ผู้อำนวยการส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมอุทยานฯ กล่าวว่า ปัจจุบันความเสียหายด้านความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์มีมูลค่าสูงถึง 45 ล้านล้านยูโร ขณะที่มีเงินแก้ไขความเสียหายเพียง 6 ล้านล้านยูโรเท่านั้น ความร่วมมือดังกล่าวดำเนินการ ภายใต้ชื่อ “เศรษฐศาสตร์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (The Economic of Ecosystemas and Biodiversity : TEEB ) 


เพื่อศึกษาค้นหาความสัมพันธ์เศรษฐศาสตร์ระหว่างระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศต่อมนุษยชาติ 2. สร้างความเข้าใจในมูลค่าเศรษฐกิจที่แท้จริงของความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ 3. ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาประเมินคุณค่าเศรษฐกิจที่แท้จริงของความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ 4. พัฒนามาตรการที่สอดคล้องกับมาตรการ TEEB ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าเชิงเศรษฐศาสตร์กับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ 
    
ดร.รุ่งนภา กล่าวว่า เมื่อประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ออกมาแล้ว ต้องพัฒนาออกมาเป็นมาตรการโดยยึดหลักการของ TEEB ภายใต้เงื่อนไขของการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการแบ่งปันอย่างเท่าเทียม ยกตัวอย่างเช่น ประชาชนที่อยู่ในเขตแนวป่า ที่รักษาป่าควรได้ค่าตอบแทน สวัสดิการด้านการศึกษา การสาธารณสุขที่ควรจะได้ หรือการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่า เช่น การหาของป่าต้องมีการจัดสรรอย่างเป็นธรรม หรือการนำผลิตผลของป่าไปแปรรูปเป็นสมุนไพร ซึ่งเมื่อออกมาเป็นยาแล้วราคาแพง แต่เมื่อเทียบแล้วคนที่ดูแลป่าทำให้ระบบนิเวศเอื้อต่อการเกิดพืชสมุนไพรได้ค่าตอบแทนเพียงน้อยนิด ขณะเดียวกันบุคคลที่ดูแลรักษาป่าไว้ ช่วยรักษาโลกร้อนให้กับคนในเมืองด้วย ต้องศึกษาลงไปว่าจะจัดสรรให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเหล่านี้ให้มีความอยู่ดีกินดีได้อย่างไร         
    
วิธีนี้ประเทศเวียดนามนำมาใช้แล้วโดยการเก็บเงินค่าใช้ไฟฟ้าของคนในประเทศมาจ่ายให้กับชาวบ้านที่ดูแลป่า ขณะเดียวกันคนที่ทำลายป่าต้องใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์คำนวณออกมาว่า สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศอย่างไรถ้าเก็บป่าไว้จะมีมูลค่าด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างไรบ้าง” 
    
ปัจจุบันTEEB มีกรณีศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ด้านความหลากหลายและระบบนิเวศที่ปฏิบัติได้จริงแล้ว 500 กรณีทั่วโลก ขณะนี้ได้รับการยอมรับแล้ว สำหรับประเทศไทยคาดว่าจะเริ่มใช้กับพื้นที่ป่านำร่องได้ในปีนี้ ในพื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ โดยพิจารณาว่าพื้นที่ดังกล่าวใกล้กรุงเทพฯ และมีการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างสูงสุด ยกตัวอย่างเช่น ช่วงเทศกาลมีคนเข้าไปใช้พื้นที่จำนวนมากเกินกว่าที่จะรับได้ หนึ่งในกิจกรรมคือต้องแสวงหาเส้นทางท่องเที่ยวธรรมชาติในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อแบ่งเบา และที่บ้านครีวงศ์ คนต้นน้ำที่ดูแลป่าต้นน้ำส่งผลให้คนปลายน้ำมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ด้วยการทำเกษตรแบบออแกนิก ต้องมีการศึกษาเพื่อชดเชยให้มีความสมดุล 
    
 ด้านนายสุนันต์ อรุณนพรัตน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวว่า โครงการนี้เน้นนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และการเงินมาใช้ในการอนุรักษ์ธรรมชาติ จึงจะมีการนำเอานวัตกรรมจากการศึกษาระดับนานาชาติว่า “เศรษฐกิจของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ( TEEB) ที่เพิ่งจะสรุปผลไม่นานนี้มาเป็นแนวทางดำเนินการ โดยมุ่งพัฒนาแหล่งทุน และสิทธิประโยชน์ใหม่ ๆ สำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพภายในและบริเวณโดยรอบพื้นที่อนุรักษ์ 
    
“ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติที่ให้ปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น น้ำสะอาด และการควบคุมสภาพภูมิอากาศนั้นมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีเสมอ ดังนั้นการรักษาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพจึงมีความคุ้มค่า” นางเวโรนีค ลอเรนโซ ที่ปรึกษาทางการทูตและหัวหน้าฝ่ายความร่วมมือ สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ระบุ


ที่มา: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=546&contentID=159792




บทความสีเขียว

ฟางข้าวประโยชน์มากกว่าที่คิด คิดสักนิดก่อนเผา วันที่ 25/08/2022   14:30:50 article
ประชุมออนไลน์ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 94% วันที่ 12/01/2022   13:21:00
การปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ภัยคุกคามสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่กำลังส่งผลสะท้อนกลับมายังมนุษย์ วันที่ 17/08/2020   14:50:58 article
อุตสาหกรรมสีเขียว วันที่ 28/01/2020   10:50:39 article
ไทยตั้งเป้าลด ขยะพลาสติก 50% ภายในอีก 9ปี วันที่ 06/07/2018   11:33:47 article
ขีดเส้น 1 ปี เลิกผลิตพลาสติกหุ้มฝาขวด หวังลดขยะ 520 ตัน วันที่ 05/07/2018   14:55:38 article
แสงอาทิตย์ท่ามกลางฝันร้ายทรายน้ำมัน วันที่ 02/07/2016   18:52:08
บรรลุข้อตกลงโลกร้อน วันที่ 05/01/2016   20:28:09 article
น้ำในเขื่อนใหญ่แห้งขอด! บราซิลประสบภัยแล้งหนักสุดในรอบ 80 ปี วันที่ 05/01/2016   20:31:44
‘สเปิร์มปลาแซลมอน’ช่วยรักษ์โลก วันที่ 01/02/2015   23:04:24
ตรวจดูยางรถให้เป็นยางรักษ์โลก วันที่ 30/01/2015   20:40:01
ตัวเลขกับรถคันแรก วันที่ 30/01/2015   20:39:45
"ไทย" คิดครั้งแรกของโลก! เทคนิคผลิต "ยาง" ล้ำยุค-ไร้มลพิษ วันที่ 30/01/2015   20:42:33 article
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม AEC ต้องไม่ละเลย วันที่ 18/06/2012   20:32:13 article
7 วิธี เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเล่นน้ำสงกรานต์ วันที่ 22/04/2012   17:04:10
10 นวัตกรรมวิทย์ไทย-ใช้ได้ทันที วันที่ 03/02/2015   19:45:53 article
10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง วันที่ 07/01/2012   13:02:01 article
ช่วยต้นไม้ ให้รอดจากน้ำท่วม วันที่ 08/12/2011   09:26:35 article
สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม วันที่ 10/10/2011   21:02:26
“เครื่องทอฟาง” นวัตกรรมใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อม แปลง “เศษฟางข้าว ใบหญ้า” ให้เป็นเงินทอง วันที่ 04/09/2011   10:34:33 article
จับตา โซล่าฟาร์มธุรกิจใหม่มาแรง วันที่ 04/09/2011   10:36:36 article
ไบโอดีเซลจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:41:49 article
น้ำมันในอนาคตสกัดจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:42:23 article
พลังงานนิวเคลียร์ และรังสี วันที่ 04/09/2011   10:42:57
กัมมันตภาพรังสี วันที่ 04/09/2011   10:43:12
หนาวนี้...ทานอาหารแบบประหยัดพลังงาน วันที่ 04/09/2011   10:43:29 article
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ด้านสิ่งแวดล้อม) วันที่ 04/09/2011   10:43:52 article
อุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry) วันที่ 04/09/2011   10:44:08 article
"กรีนบอร์ด" วัสดุทดแทนไม้จากกล่องเครื่องดื่มรีไซเคิล วันที่ 04/09/2011   10:44:24 article
“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเทคโนโลยี วันที่ 04/09/2011   10:44:54 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค2 วันที่ 04/09/2011   10:45:19 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค1 วันที่ 04/09/2011   10:45:40 article
ผักอินทรีย์...มองไกลไปกว่าวิตามิน วันที่ 04/09/2011   10:45:55 article
"7 กรีนส์" วิธีท่องเที่ยว แบบคนรักษ์โลก วันที่ 04/09/2011   10:46:07
ติดผนังสีเขียวให้เย็นตารับหน้าร้อน วันที่ 04/09/2011   10:46:27 article
Dangerous Zones เมื่อฟ้าฝนวิปริต โลกจะเป็นอย่างไรในวันพรุ่ง... วันที่ 04/09/2011   10:47:04 article
ไบโอพลาสติก ทางเลือกใหม่สำหรับโลกในอนาคต วันที่ 04/09/2011   10:47:16 article
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่2 วันที่ 04/09/2011   10:47:39
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่1 วันที่ 04/09/2011   10:48:16 article
"ยางธรรมชาติ" เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร? วันที่ 04/09/2011   10:48:31 article
"ไฮโดรเจน" พลังงานขับเคลื่อนโลกยุคใหม่ วันที่ 04/09/2011   10:48:51 article
GreenTransformer "6 in 1 Solar Robot Kit" วันที่ 04/09/2011   10:49:09 article
พลังงานทดแทน วันที่ 04/09/2011   10:49:25
กระบวนการไพโรไลซิสน้ำมันจากยางรถยนต์เสื่อมสภาพ วันที่ 03/02/2015   19:42:08
ฉลากคาร์บอน วันที่ 04/09/2011   10:50:04 article
คาร์บอนเครดิต วันที่ 01/12/2010   19:31:38 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท รับเบอร์ กรีน จำกัด | RUBBER GREEN COMPANY LIMITED

58 ซ.พระยามนธาตุฯ แยก 19 (ดี.เค.30) แขวงคลองบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 10150
58, Soi Prayamonthat Yaek 19, Klongbangbon, Bangbon, Bangkok 10150 Thailand

Tel: +66 (0) 2417 1392, 08 1808 1391   Fax: +66 (0) 2416 9312 Email: rubbergreen@yahoo.co.th

"ผู้ผลิต และจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด"