ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
dot
bulletขึ้นรูปยาง
bulletยางแผ่น
bulletลูกกลิ้งอุตสาหกรรม
bulletซีลยาง-ท่อยาง
bulletพื้นรองเท้ายาง
dot
dot
bulletวิธีการชำระเงิน
dot
dot
bulletแผนที่บริษัท
bulletเอกสาร (แบบฟอร์ม)
dot
dot
bulletคุณสมบัติยาง
bulletบทความสีเขียว
bulletบทความลูกกลิ้ง
bulletค่าบริการไปรษณีย์
dot

dot
bulletติดต่อสอบถาม
dot
dot
ตรวจสอบสถานะ EMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน




dot
“เครื่องทอฟาง” นวัตกรรมใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อม แปลง “เศษฟางข้าว ใบหญ้า” ให้เป็นเงินทอง article
วันที่ 04/09/2011   10:34:33

ประเทศไทย ถือเป็นเมืองเกษตรกรรม ที่ปลูกข้าวเป็นสินค้าหลัก ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา (2549-2553) มีเนื้อที่ปลูกข้าวถึง 57 ล้านไร่ ผลผลิตปีละประมาณ 28.0-30.0 ล้านตันข้าวเปลือก ทำเงินถึงปีละ 180,000-200,000 ล้านบาท น่าเสียดาย “เศษฟางข้าว” ที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว มักถูกเผาทำลาย สร้างมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ   

แต่วันนี้ เราสามารถเปลี่ยนเศษฟางข้าวเป็นเงินได้แล้ว โดยใช้ “เครื่องทอฟาง” ช่วยแปรรูปเศษฟางข้าว ให้เป็นกลายเป็นสินค้าใหม่ ที่ผลิตง่าย ขายคล่อง เป็นที่ต้องการของตลาดในวงกว้าง เครื่องทอฟาง ถือเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากความคิดริเริ่มของคนจีน และสถานีพัฒนาที่ดินนครพนม ได้นำมาประยุกต์ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานในเมืองไทย   

 “คุณชัยฤกษ์ อุทาประเสริฐ” ผู้อำนวยการ สถานีพัฒนาที่ดินนครพนม กรมพัฒนาที่ดิน เล่าให้ฟังว่า เมื่อช่วงต้นปี 2554 ผมได้มีโอกาสติดตาม คุณศุภชัย โพธิ์สุ รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปดูงานภาคการเกษตรของประเทศจีน พบว่า คนจีนนิยมนำฟางข้าวมาทอเป็นเสื่อฟางผืนใหญ่ สำหรับใช้คลุมแปลงเพาะปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิความเย็นเข้าไปทำร้ายต้นไม้ในช่วงฤดูหนาว

ท่านศุภชัยรู้สึกประทับใจ การทำงานของเครื่องทอฟาง เป็นอย่างมาก จึงมอบหมายให้ผมเป็นผู้เจรจาขอซื้อเครื่องทอฟางจากจีน ในราคา 200,000 บาท เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องจักรต้นแบบ สำหรับการผลิตเครื่องทอฟางขึ้นในประเทศไทย โดยเอกชนจีนที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เครื่องทอฟาง ก็อนุญาตให้เรานำไปใช้ดัดแปลงได้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยในอนาคต 

mach1ผมและทีมงานของท่านศุภชัยได้ศึกษาระบบการทำงานของเครื่องทอฟาง ที่นำเข้าจากจีน พบว่า มีจุดอ่อนที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานในเมืองไทย เช่น อุปกรณ์มอเตอร์ จีนใช้มอเตอร์ธรรมดา ขนาดแรงครึ่ง ไม่ถึง 220 โวลต์ จึงได้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้เครื่องยนต์ต้นกำลัง ยี่ห้อฮอนด้า ขนาด 5 แรงม้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น จากเดิมที่เคยทอเสื่อฟางได้เพียง 70-80 เมตร ต่อชั่วโมง ก็เพิ่มเป็น 150 เมตร ต่อชั่วโมง

นอกจากนี้ ยังได้เปลี่ยนโครงสร้างอุปกรณ์จากเหล็กธรรมดา ให้เป็นอุปกรณ์สเตนเลส เพื่อยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้นและไม่เป็นสนิม ส่วนด้ายเดิม จีนใช้ด้ายไนล่อนที่มีราคาแพง และไม่ละลายในดิน จึงเปลี่ยนเป็นด้ายเชือกปอที่มีราคาถูก หาซื้อง่าย และสามารถย่อยสลายเป็นปุ๋ยได้ 

เนื่องจากเครื่องทอฟางของจีนมีขนาดใหญ่เทอะทะ กว้าง 1.50 เมตร ยาวประมาณ 2 เมตร มีเข็มถักฟาง จำนวน 21 เข็ม จึงได้ปรับปรุงให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด เหลือขนาดความกว้างเพียง 1 เมตร และปรับลดจำนวนเข็ม ให้เหลือเพียง 15 เข็ม เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกมากขึ้น 

ข้อจำกัดของอุปกรณ์ เครื่องทอฟางของจีน คือทำงานด้วยระบบไฟฟ้า จึงไม่สามารถโยกย้ายไปใช้ในไร่นาที่ขาดแคลนระบบไฟฟ้าได้ จึงเตรียมติดตั้งอุปกรณ์เครื่องยนต์ เพื่อให้เครื่องทอฟางสามารถใช้งานได้ทั้งสองระบบ ทั้งเครื่องยนต์และมอเตอร์ และวางแผนติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวบนรถอีแต๋น เพื่อจะใช้เป็นรถโมบาย จะได้เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ดังกล่าว ไปใช้งานได้ทุกพื้นที่

ขณะนี้ การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องทอฟางใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานในเบื้องต้นพบว่า อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ หากจัดเรียงฟางหนามาก เครื่องก็ทำงานได้ช้า หากจัดเรียงฟางให้บาง เครื่องก็จะสามารถทำงานได้ง่าย จุดอ่อนของอุปกรณ์คือ เข็มเย็บแล้วติด ต้องดับเครื่องและรื้อฟางออกมาจัดเรียงใหม่ มักเจอปัญหานี้ เมื่อใช้งาน 2-3 ชั่วโมง ติดต่อกัน ยังไม่แน่ใจว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมาจากตัวเครื่องร้อนหรือไม่  

mach2ที่ผ่านมา เครื่องทอฟางสามารถทอเสื่อให้มีความหนา-บาง ได้ตามที่ต้องการ เพียงปรับระยะความห่างและความถี่ของเข็ม เช่น ต้องการให้เสื่อฟางหนา ก็ปรับระยะเข็มให้อยู่ที่ระยะสั้น คือ 2 เซนติเมตร หากต้องการให้เสื่อบางก็ปรับเข็มไปที่ระยะ 3-4 เซนติเมตร หากต้องการเสื่อฟางที่มีความหนาเพียงพอสำหรับใช้มุงหลังคา ก็ปรับระยะเข็มอยู่ที่ 1.5 เซนติเมตร เป็นต้น 

สำหรับการใช้เครื่องทอฟางดังกล่าว จะต้องใช้แรงงานควบคุมการทำงาน ประมาณ 2 คน เพื่อทำหน้าที่จัดเรียงฟาง กำหนดระยะวางเข็มสำหรับเย็บฟาง ตัดระยะเสื่อฟางและมัดเสื่อฟาง ส่วนความยาวของการทอเสื่อฟางขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ใช้เป็นหลัก โดยทั่วไปอุปกรณ์ตัวนี้ สามารถทอเสื่อฟางที่มีความยาวได้ถึง 1,000 เมตร ทีเดียว เมื่อได้ขนาดความยาวตามที่ผู้ใช้งานต้องการแล้ว จึงค่อยตัดระยะและนำมาจัดมัดเป็นก้อน เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายต่อไป 

คุณชัยฤกษ์ กล่าวอีกว่า ผมได้ทดลองนำเศษฟางข้าวแห้ง และหญ้าสด เช่น หญ้าแฝก หญ้าคา ฯลฯ มาทอกับเครื่องดังกล่าว โดยจัดเตรียมเศษฟางและใบหญ้าสดหรือแห้ง ที่มีความยาวพอประมาณ มาจัดเรียงกันเป็นชั้น ให้มีความหนาอยู่ในระดับที่เหมาะสมบนแท่นที่กำหนดไว้ ก็จะสามารถถักทอเป็นเสื่อได้เช่นเดียวกัน

ที่ผ่านมา ทางสถานีพัฒนาที่ดินนครพนม ได้ทดลองนำเสื่อฟางไปคลุมโคนต้นมังคุด และต้นยางขนาดเล็ก ในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาพบว่า ช่วยลดการสูญเสียความชุ่มชื้นในระดับผิวดิน ในช่วงฤดูแล้งได้เป็นอย่างดี รวมทั้งป้องกันการงอกของวัชพืชในแปลงยางพารา และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน เสื่อฟางดังกล่าวก็ย่อยสลายเป็นปุ๋ยในผิวดินอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ในช่วงที่จัดงานนิทรรศการ หรืองานจัดเลี้ยงภายนอกอาคาร ได้เคยทดลองนำเสื่อฟางไปปูบริเวณทางเดินที่มีสภาพดินชื้นแฉะ ก็ช่วยให้ผู้เข้าชมงานสามารถเดินชมงานได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น 

เมื่อถามถึงต้นทุนการผลิต คุณชัยฤกษ์ ให้คำตอบว่า เมื่อคำนวณต้นทุนวัตถุดิบ ค่าไฟฟ้า ค่าจ้างแรงงาน พบว่า มีต้นทุนการผลิตโดยเฉลี่ย ไม่เกินเมตรละ 12-15 บาท ที่ผ่านมา ผมได้นำเครื่องทอฟางไปโชว์ในงานวันยางพาราแห่งชาติ ที่จังหวัดนครพนม และงานแสดงสินค้าที่จังหวัดมุกดาหาร ปรากฏว่า ได้รับความสนใจจากประชาชนและเกษตรกรจำนวนมาก  โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง มีผู้ที่สนใจติดต่อขอสั่งซื้อเสื่อฟางเข้ามาหลายรายแล้ว

ทางสถานีพัฒนาที่ดินนครพนม มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เกษตรกร นำเครื่องทอฟางไปใช้สร้างมูลค่าเพิ่มกับฟางข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยวให้มากขึ้น โดยวางแผนจัดทำโครงการนำร่องการใช้เครื่องทอฟาง ในจังหวัดนครพนม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2554 โดยสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อทอฟาง ทอหญ้าแล้วแบ่งกันไปใช้งาน โดยใช้กลุ่มเกษตรกรเป็นผู้ควบคุมการผลิต และจัดวัตถุดิบ เช่น ฟางข้าว หญ้าคา หญ้าแฝก ฯลฯ ทางสถานีอาจจะสนับสนุนในเรื่องเชือกปอ ค่าน้ำมัน หรือค่าไฟฟ้า ฯลฯ

ด้าน ผู้ว่าราชาการจังหวัดนครพนม ก็เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว และพร้อมสนับสนุนให้บรรจุเรื่องเครื่องทอฟางให้อยู่ในแผนยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทุกอำเภอ มีเครื่องทอฟาง สำหรับสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในอนาคต สำหรับการผลิตเครื่องทอฟาง ต้องใช้งบฯ ลงทุนเฉลี่ยเครื่องละไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อบรรจุเป็นแผนยุทธศาสตร์จังหวัดนครพนม ในปี 2555 คาดว่า ต้องใช้งบฯ ทั้งสิ้นประมาณ 2.4 ล้านบาท 

คุณชัยฤกษ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา คนไทยคุ้นเคยกับการนำหญ้าแฝกมาทอเป็นเสื่อ ซึ่งเป็นการทอมือโดยใช้กี่กระตุก แต่การทอด้วยวิธีดั้งเดิม ผลิตสินค้าได้น้อย เพราะเป็นงานฝีมือที่ต้องใช้แรงงานคน หากเปลี่ยนมาใช้เครื่องทอฟางดังกล่าว จะช่วยให้การทอฟางหรือหญ้าแฝกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม กลายเป็นเรื่องง่ายที่ทุกคนสามารถใช้งานได้ ฉะนั้น อย่าได้เผาทำลายฟางข้าวอีกต่อไป นำมาเปลี่ยนเป็นเงินดีกว่า

หากผู้อ่านท่านใดสนใจ อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องทอฟาง สามารถติดต่อ กับ คุณชัยฤกษ์ อุทาประเสริฐ ได้ที่ เบอร์โทร. (042) 503-586-8, (081) 965-4080 และเข้าเยี่ยมชมเครื่องทอฟางดังกล่าวได้ที่ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดนครพนม เลขที่ 249 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม หรืออดใจรอชมประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องทอฟางดังกล่าวได้ ภายในงาน “เกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี-เทคโนโลยีชาวบ้าน 2011” ระหว่าง วันที่ 28 กันยายน-2 ตุลาคม 2554 ณ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค  

อ้างอิง: http://www.matichon.co.th / เกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี-เทคโนโลยีชาวบ้าน / จิรวรรณ โรจนพรทิพย์




บทความสีเขียว

ฟางข้าวประโยชน์มากกว่าที่คิด คิดสักนิดก่อนเผา วันที่ 25/08/2022   14:30:50 article
ประชุมออนไลน์ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 94% วันที่ 12/01/2022   13:21:00
การปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ภัยคุกคามสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่กำลังส่งผลสะท้อนกลับมายังมนุษย์ วันที่ 17/08/2020   14:50:58 article
อุตสาหกรรมสีเขียว วันที่ 28/01/2020   10:50:39 article
ไทยตั้งเป้าลด ขยะพลาสติก 50% ภายในอีก 9ปี วันที่ 06/07/2018   11:33:47 article
ขีดเส้น 1 ปี เลิกผลิตพลาสติกหุ้มฝาขวด หวังลดขยะ 520 ตัน วันที่ 05/07/2018   14:55:38 article
แสงอาทิตย์ท่ามกลางฝันร้ายทรายน้ำมัน วันที่ 02/07/2016   18:52:08
บรรลุข้อตกลงโลกร้อน วันที่ 05/01/2016   20:28:09 article
น้ำในเขื่อนใหญ่แห้งขอด! บราซิลประสบภัยแล้งหนักสุดในรอบ 80 ปี วันที่ 05/01/2016   20:31:44
‘สเปิร์มปลาแซลมอน’ช่วยรักษ์โลก วันที่ 01/02/2015   23:04:24
ตรวจดูยางรถให้เป็นยางรักษ์โลก วันที่ 30/01/2015   20:40:01
ตัวเลขกับรถคันแรก วันที่ 30/01/2015   20:39:45
"ไทย" คิดครั้งแรกของโลก! เทคนิคผลิต "ยาง" ล้ำยุค-ไร้มลพิษ วันที่ 30/01/2015   20:42:33 article
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม AEC ต้องไม่ละเลย วันที่ 18/06/2012   20:32:13 article
7 วิธี เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเล่นน้ำสงกรานต์ วันที่ 22/04/2012   17:04:10
10 นวัตกรรมวิทย์ไทย-ใช้ได้ทันที วันที่ 03/02/2015   19:45:53 article
10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง วันที่ 07/01/2012   13:02:01 article
ช่วยต้นไม้ ให้รอดจากน้ำท่วม วันที่ 08/12/2011   09:26:35 article
สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม วันที่ 10/10/2011   21:02:26
กรมอุทยานฯดีเดย์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ประเมินคุณค่าระบบนิเวศ วันที่ 04/09/2011   10:33:55
จับตา โซล่าฟาร์มธุรกิจใหม่มาแรง วันที่ 04/09/2011   10:36:36 article
ไบโอดีเซลจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:41:49 article
น้ำมันในอนาคตสกัดจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:42:23 article
พลังงานนิวเคลียร์ และรังสี วันที่ 04/09/2011   10:42:57
กัมมันตภาพรังสี วันที่ 04/09/2011   10:43:12
หนาวนี้...ทานอาหารแบบประหยัดพลังงาน วันที่ 04/09/2011   10:43:29 article
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ด้านสิ่งแวดล้อม) วันที่ 04/09/2011   10:43:52 article
อุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry) วันที่ 04/09/2011   10:44:08 article
"กรีนบอร์ด" วัสดุทดแทนไม้จากกล่องเครื่องดื่มรีไซเคิล วันที่ 04/09/2011   10:44:24 article
“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเทคโนโลยี วันที่ 04/09/2011   10:44:54 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค2 วันที่ 04/09/2011   10:45:19 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค1 วันที่ 04/09/2011   10:45:40 article
ผักอินทรีย์...มองไกลไปกว่าวิตามิน วันที่ 04/09/2011   10:45:55 article
"7 กรีนส์" วิธีท่องเที่ยว แบบคนรักษ์โลก วันที่ 04/09/2011   10:46:07
ติดผนังสีเขียวให้เย็นตารับหน้าร้อน วันที่ 04/09/2011   10:46:27 article
Dangerous Zones เมื่อฟ้าฝนวิปริต โลกจะเป็นอย่างไรในวันพรุ่ง... วันที่ 04/09/2011   10:47:04 article
ไบโอพลาสติก ทางเลือกใหม่สำหรับโลกในอนาคต วันที่ 04/09/2011   10:47:16 article
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่2 วันที่ 04/09/2011   10:47:39
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่1 วันที่ 04/09/2011   10:48:16 article
"ยางธรรมชาติ" เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร? วันที่ 04/09/2011   10:48:31 article
"ไฮโดรเจน" พลังงานขับเคลื่อนโลกยุคใหม่ วันที่ 04/09/2011   10:48:51 article
GreenTransformer "6 in 1 Solar Robot Kit" วันที่ 04/09/2011   10:49:09 article
พลังงานทดแทน วันที่ 04/09/2011   10:49:25
กระบวนการไพโรไลซิสน้ำมันจากยางรถยนต์เสื่อมสภาพ วันที่ 03/02/2015   19:42:08
ฉลากคาร์บอน วันที่ 04/09/2011   10:50:04 article
คาร์บอนเครดิต วันที่ 01/12/2010   19:31:38 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท รับเบอร์ กรีน จำกัด | RUBBER GREEN COMPANY LIMITED

58 ซ.พระยามนธาตุฯ แยก 19 (ดี.เค.30) แขวงคลองบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 10150
58, Soi Prayamonthat Yaek 19, Klongbangbon, Bangbon, Bangkok 10150 Thailand

Tel: +66 (0) 2417 1392, 08 1808 1391   Fax: +66 (0) 2416 9312 Email: rubbergreen@yahoo.co.th

"ผู้ผลิต และจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด"