ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
dot
bulletขึ้นรูปยาง
bulletยางแผ่น
bulletลูกกลิ้งอุตสาหกรรม
bulletซีลยาง-ท่อยาง
bulletพื้นรองเท้ายาง
dot
dot
bulletวิธีการชำระเงิน
dot
dot
bulletแผนที่บริษัท
bulletเอกสาร (แบบฟอร์ม)
dot
dot
bulletคุณสมบัติยาง
bulletบทความสีเขียว
bulletบทความลูกกลิ้ง
bulletค่าบริการไปรษณีย์
dot

dot
bulletติดต่อสอบถาม
dot
dot
ตรวจสอบสถานะ EMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน




dot
Dangerous Zones เมื่อฟ้าฝนวิปริต โลกจะเป็นอย่างไรในวันพรุ่ง... article
วันที่ 04/09/2011   10:47:04

 


 ภาพโดยทั่วไปของกรุงปักกิ่งถูกปกคลุมไปด้วยหิมะหนา เมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา โดยพื้นที่หลายแห่งของมหานครแห่งแดนมังกร มีหิมะหนาประมาณ 4-8 นิ้ว ถือเป็นวันที่หิมะตกรุนแรงที่สุด นับจากปี 2494

กั๋ว หู ผู้อำนวยการกองอุตุนิยมวิทยาประจำปักกิ่ง เชื่อมโยงปรากฏการณ์พายุหิมะที่จีนเผชิญอยู่ว่า เป็นผลพวงของปัญหาการเปลี่ยนแปลงของ สภาพอากาศทั่วโลก เห็นได้จากความแปรปรวนของสภาพอากาศที่รุนแรง และเกิดขึ้นบ่อยครั้งในระยะหลังๆ

ในปี 2553 จีนเผชิญพายุหิมะ ชาวจีนต้องฝ่าวิกฤตอากาศหนาวเย็นที่ลดลงต่ำที่สุดในรอบ 40 ปี แต่เมื่อปีที่แล้ว จีนต้องรับมือกับทั้งพายุน้ำแข็งทางตอนใต้ของประเทศ และพายุฝนในช่วงฤดูร้อน

จีนไม่ใช่ประเทศเดียวที่เผชิญหน้ากับสภาพอากาศที่วิปริต สหรัฐอเมริกา และทวีปยุโรป ตกอยู่ในสภาพไม่แตกต่างกัน ถนนหลวงที่เชื่อมระหว่างตะวันออก และตะวันตกของสหรัฐถูกปกคลุมด้วยหิมะหนาจนต้องสั่งปิดตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม และทางการต้องสั่งปิดเส้นทางสัญจรเพิ่มเติมในทางตะวันตกของเมืองแฟร์มองต์  ในมินนิโซตา และเส้นทางสู่เซาท์ดาโกตา

ตลอดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา อังกฤษ เยอรมนี และฝรั่งเศส ต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อรับมือหิมะที่ตกหนักจนทางการต้องประกาศเตือนให้ประชาชนกักตุนอาหาร และน้ำดื่ม รวมทั้งยารักษาโรคให้เพียงพอสำหรับการเผชิญกับสภาพอากาศหนาวจัด และหิมะปกคลุมไปอีกอย่างน้อย 4 วัน

เฉพาะในอังกฤษหลายพื้นที่มีหิมะหนาถึง 1 ฟุต ถือเป็นสภาพอากาศที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 30 ปี กระตุ้นให้รัฐบาลต้องขอความร่วมมือไปยังบริษัทอุตสาหกรรมรายใหญ่ของประเทศ 27 แห่ง ให้ระงับการใช้เชื้อเพลิงเพื่อประหยัดปริมาณพลังงานสำรอง พร้อมทั้งเตือนพลเมืองให้ เตรียมพร้อมกับสภาพอากาศที่เย็นลงถึง -20 องศาเซลเซียส

การจราจรในประเทศที่เผชิญกับพายุหิมะตกอยู่ในสภาพกึ่งอัมพาต เที่ยวบินหลายร้อยเที่ยวในแต่ละวันถูกยกเลิก อาทิ ที่ชิคาโก และอีกหลายเมืองในสหรัฐ สนามบินแฟรงก์เฟิร์ตของเยอรมนี รวมทั้งสนามบินฮีทโรว์ในกรุงลอนดอนด้วย

ใครจะคิดว่าในขณะที่ซีกโลกตะวันตกค่อนไปทางเหนือกำลังรับมือกับสภาพอากาศที่เย็นจัด ที่ขั้วโลกตะวันออกลงไปทางด้านใต้สุด กำลังเผชิญกับคลื่นอากาศร้อนจัด โดยที่เมืองเมลเบิร์นประเทศออสเตรเลีย ได้บันทึกวันที่ร้อนที่สุดในเดือนมกราคมในรอบ 150 ปี ด้วยอุณหภูมิที่สูงสุด 43.6 องศาเซลเซียส ขณะที่เซาท์ออสเตรเลีย และวิกตอเรีย มีการออกประกาศเตือนภัยตั้งแต่ 11 มกราคม เช่นเดียวกับการประกาศพื้นที่สีแดงในทางตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของรัฐวิกตอเรีย ที่แทสเมเนียเกิดไฟป่าถึง 19 จุดในเวลาใกล้เคียงกัน

ในเวเนซุเอลา ภาวะภัยแล้งที่รุนแรงกำลังกระทบต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำทางตอนใต้ของประเทศ มีระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็วจนใกล้ถึงระดับเสี่ยงว่าจะไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เช่นเดียวกับโคลอมเบีย ที่ภาวะแห้งแล้งรุนแรงสร้างปัญหาไฟป่าขึ้นหลายจุดของประเทศ แม้แต่จีนเองซึ่งในขณะที่พื้นที่หนึ่งของประเทศมีหิมะปกคลุม แต่ที่เมืองฉงชิ่งกลับเผชิญภัยแล้ง น้ำในแม่น้ำแยงซีเหือดแห้ง เรือประมงจอดเกยชายฝั่งที่จะไม่มีน้ำหลงเหลือให้เห็น


 



แตกต่างกับอิตาลี ที่เมืองเวนิซเกือบจะกลายเป็นเมืองบาดาล เพราะเกิดน้ำท่วมใหญ่ต้อนรับปีใหม่

ฉากต่อฉากของสภาพอากาศของโลกที่ตัดกันอย่างเหลือเชื่อ ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นวันนี้ หรือเมื่อวานนี้ จากการรวบรวมของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และตีพิมพ์เป็นรายงานเผยแพร่ออกมาเมื่อปีที่แล้ว ได้เก็บสถิติปรากฏการณ์สภาพอากาศแปรปรวนสุดขั้ว ที่เกิดขึ้นระหว่างปี 2550-2552

อาทิ ในรัฐอะแลสกาของสหรัฐถูกปกคลุมด้วยหิมะในช่วงฤดูหนาว ที่ถือว่าสูงที่สุดเป็นอันดับสองในรอบ 30 ปี ในปี 2550-2551 หรือการได้เห็นหิมะในดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่แห้งแล้งของโลก อย่างแอฟริกาใต้ โดยรายงานระบุว่าในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนปี 2550 แอฟริกาใต้เผชิญกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่าแนวปะทะอากาศเย็น และทำให้โจฮันเนสเบิร์กเกิดหิมะตกครั้งใหญ่สุดเป็น ครั้งแรกนับจากปี 2524

จากปี 2550 ย่างเข้าสู่ปี 2551 โบลิเวียเผชิญกับพายุฝนที่พัดกระหน่ำอย่างรุนแรง และเกิดน้ำท่วมในเดือนแรกของปี ต่อเนื่องเข้าสู่กุมภาพันธ์ เอกวาดอร์ตกอยู่ในสภาพเดียวกันฝนตกหนักติดต่อกันนำมาซึ่งภัยน้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ขณะที่บราซิลเผชิญกับภัยน้ำท่วม และโคลนถล่มในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือประชาชนมากกว่า 186,000 คนไร้ที่อยู่อาศัย

ตรงข้ามกับชิลี ที่ต้องรับมือกับภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี ในพื้นที่ตอนใต้และตอนกลางของประเทศ เช่นเดียวกับอาร์เจนตินา ปารากวัย และอุรุกวัยที่เผชิญกับภัยแล้งที่ถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี กินเวลาตั้งแต่มกราคมถึงกันยายน

ขยับขึ้นไปยังประเทศที่อยู่เหนือขึ้นไป ประสบภัยธรรมชาติที่รุนแรงในรอบ 50 ปี ทั้งพายุเฮอริเคนและพายุโซนร้อน ในแถบอ่าวเม็กซิโก สร้างความเสียหายรุนแรงแก่คิวบา และประเทศใกล้เคียง ในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ขณะที่เม็กซิโกกลับประสบภัยแล้งอย่างรุนแรงมากเป็นสถิติในรอบ 70 ปี ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร 3.5 ล้านคน แหล่งน้ำในประเทศเกือบ 80% มีระดับน้ำลดลงมากกว่าครึ่ง วัวราว 50,000 ตัว ล้มตาย และพื้นที่เพาะปลูก 17 ล้านเอเคอร์ถูกทำลาย

ต้นปี 2551 เป็นปีที่ชาวตะวันออกกลางต้องทำบันทึกประวัติศาสตร์ เมื่ออิหร่านต้องเผชิญกับพายุหิมะที่ตกหนักในรอบมากกว่า 10 ปี และแม้แต่อิรักเองก็ได้เห็นพายุหิมะเป็นครั้งแรก แต่ถัดมาประมาณกลางปี อิรักกลับต้องเผชิญกับพายุทราย และภัยแล้งทำให้พืชผลโดยเฉพาะข้าวสาลีให้ผลผลิตไม่ถึง 60% ของปริมาณที่เคยเก็บเกี่ยวได้

เดือนมิถุนายน อินเดียประสบกับคลื่นอากาศร้อน คร่าชีวิตชาวภารตไปเกือบ 100 ชีวิต อุณหภูมิสูงสุด 40 องศา ขณะที่จีน ฟิลิปปินส์ เผชิญกับพายุไต้ฝุ่น เกิดน้ำท่วม โคลนถล่มหลายครั้งในช่วงเวลาไม่ห่างกันนัก

การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน และสุดขั้วของสภาพอากาศในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ชวนให้หลายคนนึกถึงภาพยนตร์หลายเรื่องที่ทยอยออกมา อาทิ An Inconvenient Truth, The Day After Tomorrow จนถึงเรื่องล่าสุดอย่าง 2012 กันบ้างแล้ว โลกจะเผชิญกับหายนะครั้งใหญ่แล้วหรือ

ขณะที่บางคนกำลังค้นหาคำตอบกับความเป็นไปได้ดังกล่าว มีหลายประเทศเร่งจัดทำยุทธศาสตร์แห่งชาติ เพื่อรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั่วโลก อาทิ อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ และบราซิล

ฮิลารี เบนน์ รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของอังกฤษ ได้เรียกร้องให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์อาหารแห่งชาติ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยได้อ้างถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่กำลังเพิ่มมากขึ้น อาทิ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั่วโลก ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั่วโลก ราคาพลังงานที่สูงมาก จนถึงแรงกดดันจากปัญหาที่ดิน และแหล่งน้ำ ซึ่งอาจนำมาซึ่งวิกฤตขาดแคลนอาหารได้

เมื่อปลายปีที่แล้วระหว่างพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ของอังกฤษ ได้มีการฉายภาพจำลองของแผนที่ที่ตั้งชื่อว่า "Day After Tomorrow" จัดทำโดยหน่วยงานอุตุนิยมวิทยา ซึ่งจำลองสถานการณ์ที่โลกอาจเผชิญหากอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 4 องศาเซลเซียสอย่างต่อเนื่อง และหากไม่มีการดำเนินการใดๆ ที่จะลดการแพร่ก๊าซก่อภาวะเรือนกระจก

แผนที่ดังกล่าวบอกว่าหากสถานการณ์เป็นเช่นสมมติฐาน อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นถึงจุดอันตราย ภายในปี 2603 และเมื่อถึงจุดนั้น สภาพอากาศของอังกฤษจะร้อนขึ้น และมีอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน ภัยแล้งจะคุกคามพืชผลในพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ระดับน้ำทะเลจะกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่ง และเกิดน้ำท่วมในช่วงฤดูหนาว

เดวิด มิลิแบนด์ รัฐมนตรีต่างประเทศเตือนว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ไม่ใช่แค่ประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม แต่เป็นภัยฉุกเฉินของมนุษยชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยี และนโยบายต่างประเทศ

เป็นสถานการณ์ที่นำไปสู่อันตรายของการภาวะขาดแคลนน้ำ ภัยแล้ง และปรากฏการณ์ที่ทำให้พื้นที่ต่างๆ แปรสภาพเป็นทะเลทราย จนส่งผลต่อการผลิตอาหารรองรับประชากรโลกที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรืออาจนำไปสู่สถานการณ์ของการอพยพของผู้คนกว่า 200 ล้านคน และนั่นอาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง เนื่องจากคนจะต่อสู้กันเพื่อแย่งทรัพย์ที่เริ่มขาดแคลน อาทิ แหล่งน้ำในตะวันออกกลาง

สอดคล้องกับรายงานของกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ซึ่งออกมาก่อนหน้านี้ ซึ่งเตือนว่าการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลกเหนืออาจทำให้น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 1 เมตร และส่งผลให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลของหลายภูมิภาคประสบกับภัยน้ำท่วม และกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชากร 1 ใน 4 ของโลก อันเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว

ความวิตกกังวลดังกล่าว ได้นำไปสู่ความพยายามเรียกร้องให้ประชาคมโลกเร่งลดอุณหภูมิให้ต่ำลง โดยต้องดำเนินการเพื่อคงอุณหภูมิทั่วโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส

จอห์น เบดดิงตัน หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลอังกฤษเตือนว่า นี่อาจเป็นหายนะหากสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ๆ โลกจำเป็นต้องพยายามดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการลดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศา "แม้จะไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย แต่ก็เป็นสิ่งที่เราต้องทำ"

คำถามสำคัญ คือ หากโลกไม่ตระหนักถึงผลกระทบของปัญหาโลกร้อน และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันในขณะนี้ อะไร จะเกิดขึ้นตามมาบ้าง หายนะโลกจะนำมาซึ่งวิกฤตอาหารจริงหรือไม่

สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute : IRRI) ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาถึงผลกระทบของปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทั่วโลก ต่อผลผลิตข้าวในอนาคต ซึ่งให้ข้อสรุปว่า แม้เป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ว่า "โลกร้อน" เป็นต้นเหตุของปรากฏการณ์สภาพอากาศแปรปรวนในปัจจุบัน แต่จากการใช้เทคนิคแบบจำลองที่ทันสมัย พบว่าพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฟิลิปปินส์มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะได้รับผลกระทบด้านลบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

ขณะที่ผลการศึกษาของสถาบันระหว่างประเทศแห่งอื่น ๆ อาทิ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ได้ข้อสรุปที่สะท้อนถึงความเป็นไปได้ผลผลิตพืชผลในเอเชียใต้ จะลดลงอย่างฮวบฮาบ ภายในปี 2593 เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนน้ำ และอากาศร้อน อันเป็นผลพวงของปรากฏการณ์โลกร้อน ปริมาณการผลิตข้าวโพดมีแนวโน้มจะลดลงประมณ 17% เช่นเดียวกับข้าวสาลีที่อาจตกต่ำลง 12% และข้าวจะลดลงเฉลี่ย 10% แต่หากสภาพอากาศ แปรปรวนรุนแรงสุด ผลิตผลของพืชเหล่านี้อาจลดลงสูงสุดถึง 50%

หากสถานการณ์เป็นจริงดังผลการศึกษา หมายความว่า ในอีก 40 ปีข้างหน้า ภาวะขาดแคลนอาหาร จะส่งผลให้ราคาสินค้าพุ่งพรวดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาทิ ทำให้ราคาข้าวพุ่งขึ้น 37% และราคาข้าวโพดแพงลิ่วถึง 100%

คำทำนายที่น่าสนใจของเอดีบี คือ ประเทศต่างๆ ในเอเชีย ซึ่งรวมถึงไทย เวียดนาม และบังกลาเทศ ซึ่งมีประชากรจำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มตามแนวชายฝั่งทะเล อาจเผชิญกับความเสี่ยงที่รุนแรงในระยะสั้น อาทิ จากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น สภาพอากาศที่แปรปรวนรุนแรง และภาวะขาดแคลนน้ำ และปัญหาดังกล่าวจะลุกลามเป็นปัญหาของทั้งประเทศและภูมิภาคในที่สุด

 


อ้างอิง: วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4175  ประชาชาติธุรกิจ




บทความสีเขียว

ฟางข้าวประโยชน์มากกว่าที่คิด คิดสักนิดก่อนเผา วันที่ 25/08/2022   14:30:50 article
ประชุมออนไลน์ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 94% วันที่ 12/01/2022   13:21:00
การปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ภัยคุกคามสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่กำลังส่งผลสะท้อนกลับมายังมนุษย์ วันที่ 17/08/2020   14:50:58 article
อุตสาหกรรมสีเขียว วันที่ 28/01/2020   10:50:39 article
ไทยตั้งเป้าลด ขยะพลาสติก 50% ภายในอีก 9ปี วันที่ 06/07/2018   11:33:47 article
ขีดเส้น 1 ปี เลิกผลิตพลาสติกหุ้มฝาขวด หวังลดขยะ 520 ตัน วันที่ 05/07/2018   14:55:38 article
แสงอาทิตย์ท่ามกลางฝันร้ายทรายน้ำมัน วันที่ 02/07/2016   18:52:08
บรรลุข้อตกลงโลกร้อน วันที่ 05/01/2016   20:28:09 article
น้ำในเขื่อนใหญ่แห้งขอด! บราซิลประสบภัยแล้งหนักสุดในรอบ 80 ปี วันที่ 05/01/2016   20:31:44
‘สเปิร์มปลาแซลมอน’ช่วยรักษ์โลก วันที่ 01/02/2015   23:04:24
ตรวจดูยางรถให้เป็นยางรักษ์โลก วันที่ 30/01/2015   20:40:01
ตัวเลขกับรถคันแรก วันที่ 30/01/2015   20:39:45
"ไทย" คิดครั้งแรกของโลก! เทคนิคผลิต "ยาง" ล้ำยุค-ไร้มลพิษ วันที่ 30/01/2015   20:42:33 article
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม AEC ต้องไม่ละเลย วันที่ 18/06/2012   20:32:13 article
7 วิธี เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเล่นน้ำสงกรานต์ วันที่ 22/04/2012   17:04:10
10 นวัตกรรมวิทย์ไทย-ใช้ได้ทันที วันที่ 03/02/2015   19:45:53 article
10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง วันที่ 07/01/2012   13:02:01 article
ช่วยต้นไม้ ให้รอดจากน้ำท่วม วันที่ 08/12/2011   09:26:35 article
สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม วันที่ 10/10/2011   21:02:26
กรมอุทยานฯดีเดย์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ประเมินคุณค่าระบบนิเวศ วันที่ 04/09/2011   10:33:55
“เครื่องทอฟาง” นวัตกรรมใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อม แปลง “เศษฟางข้าว ใบหญ้า” ให้เป็นเงินทอง วันที่ 04/09/2011   10:34:33 article
จับตา โซล่าฟาร์มธุรกิจใหม่มาแรง วันที่ 04/09/2011   10:36:36 article
ไบโอดีเซลจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:41:49 article
น้ำมันในอนาคตสกัดจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:42:23 article
พลังงานนิวเคลียร์ และรังสี วันที่ 04/09/2011   10:42:57
กัมมันตภาพรังสี วันที่ 04/09/2011   10:43:12
หนาวนี้...ทานอาหารแบบประหยัดพลังงาน วันที่ 04/09/2011   10:43:29 article
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ด้านสิ่งแวดล้อม) วันที่ 04/09/2011   10:43:52 article
อุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry) วันที่ 04/09/2011   10:44:08 article
"กรีนบอร์ด" วัสดุทดแทนไม้จากกล่องเครื่องดื่มรีไซเคิล วันที่ 04/09/2011   10:44:24 article
“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเทคโนโลยี วันที่ 04/09/2011   10:44:54 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค2 วันที่ 04/09/2011   10:45:19 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค1 วันที่ 04/09/2011   10:45:40 article
ผักอินทรีย์...มองไกลไปกว่าวิตามิน วันที่ 04/09/2011   10:45:55 article
"7 กรีนส์" วิธีท่องเที่ยว แบบคนรักษ์โลก วันที่ 04/09/2011   10:46:07
ติดผนังสีเขียวให้เย็นตารับหน้าร้อน วันที่ 04/09/2011   10:46:27 article
ไบโอพลาสติก ทางเลือกใหม่สำหรับโลกในอนาคต วันที่ 04/09/2011   10:47:16 article
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่2 วันที่ 04/09/2011   10:47:39
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่1 วันที่ 04/09/2011   10:48:16 article
"ยางธรรมชาติ" เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร? วันที่ 04/09/2011   10:48:31 article
"ไฮโดรเจน" พลังงานขับเคลื่อนโลกยุคใหม่ วันที่ 04/09/2011   10:48:51 article
GreenTransformer "6 in 1 Solar Robot Kit" วันที่ 04/09/2011   10:49:09 article
พลังงานทดแทน วันที่ 04/09/2011   10:49:25
กระบวนการไพโรไลซิสน้ำมันจากยางรถยนต์เสื่อมสภาพ วันที่ 03/02/2015   19:42:08
ฉลากคาร์บอน วันที่ 04/09/2011   10:50:04 article
คาร์บอนเครดิต วันที่ 01/12/2010   19:31:38 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท รับเบอร์ กรีน จำกัด | RUBBER GREEN COMPANY LIMITED

58 ซ.พระยามนธาตุฯ แยก 19 (ดี.เค.30) แขวงคลองบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 10150
58, Soi Prayamonthat Yaek 19, Klongbangbon, Bangbon, Bangkok 10150 Thailand

Tel: +66 (0) 2417 1392, 08 1808 1391   Fax: +66 (0) 2416 9312 Email: rubbergreen@yahoo.co.th

"ผู้ผลิต และจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด"