ReadyPlanet.com
dot dot dot
dot
dot
bulletขึ้นรูปยาง
bulletยางแผ่น
bulletลูกกลิ้งอุตสาหกรรม
bulletซีลยาง-ท่อยาง
bulletพื้นรองเท้ายาง
dot
dot
bulletวิธีการชำระเงิน
dot
dot
bulletแผนที่บริษัท
bulletเอกสาร (แบบฟอร์ม)
dot
dot
bulletคุณสมบัติยาง
bulletบทความสีเขียว
bulletบทความลูกกลิ้ง
bulletค่าบริการไปรษณีย์
dot

dot
bulletติดต่อสอบถาม
dot
dot
ตรวจสอบสถานะ EMS และไปรษณีย์ลงทะเบียน




dot
ไบโอพลาสติก ทางเลือกใหม่สำหรับโลกในอนาคต article
วันที่ 04/09/2011   10:47:16

       ไบโอพลาสติก-ทางเลือกใหม่สำหรับโลกในอนาคต
เมื่อเรานึกถึงบางสิ่งบางอย่างที่ย่อยสลายได้ เรามักจะนึกถึงภาพการแยกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วเกิดการสลาย และหายไป เช่นเดียวกับไบโอพลาสติก ซึ่งผลิตจากไบโอพอลิเมอร์ที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ สามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ แล้วเปลี่ยนไปเป็นธาตุคาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน โดยจะย่อยส่วนประกอบที่เป็นวัสดุธรรมชาติ เช่น พวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีนจากถั่ว และไตรกลีเซอไรด์ เป็นต้น ระยะเวลาการย่อยสลายขึ้นอยู่กับน้ำหนักโมเลกุล ชนิด และปริมาณไบโอพอลิเมอร์ที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตไบโอพลาสติก เช่น ไบโอพลาสติกที่ผลิตจากแป้งเพียงอย่างเดียว เมื่อได้รับความชื้น แป้งจะเกิดการพองตัว และเสียรูป จากนั้นก็จะเกิดการย่อยสลายไปอย่ารวดเร็ว และปลอดภัย กลายเป็นวัตถุดิบที่คืนกลับสู่ธรรมชาติกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม แต่เมื่อนำแป้งผสมเข้ากับ ไบโอพอลิเมอร์ชนิดอื่นหรือพอลิเมอร์ที่ไม่ย่อยสลายปริมาณเล็กน้อยก็จะทำให้ไบโอพลาสติก และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้มีความแข็งแรง ทนทานยิ่งขึ้น ดังนั้น การผลิตไบโอพลาสติกเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ใดๆ จึงต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การย่อยสลายง่ายของไบโอพลาสติกที่ผลิตจากวัสดุที่ธรรมชาติสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ทำให้ผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกไม่แข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานสั้นกว่า อีกทั้งต้นทุนการผลิตก็สูงกว่าเมื่อเทียบกับพลาสติกสังเคราะห์ทั่วไปที่ผลิตจากสาร ปิโตรเคมีที่ได้จากธรรมชาติ แต่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ ซึ่งหากได้มีการพัฒนาด้านความแข็งแรง ทนทาน โดยทำให้ความสามารถในการย่อยสลายบรรลุผลสำเร็จอย่างแท้จริง และลดต้นทุนการผลิตต่ำลงได้แล้ว ก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกมีอนาคตสดใสยิ่งขึ้น ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สัมฤทธิ์ผลจึงอาจเริ่มจากการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่าย มีปริมาณมาก ราคาถูก และสามารถปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความทนทานแข็งแรงขณะใช้งาน โดยมีปัจจัยในการพิจารณาถึงผลกระทบที่มีต่อสภาพแวดล้อม คือ

1. เป็นวัสดุธรรมชาติที่ใช้แล้วสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ โดยพิจารณาว่า วัสดุนั้นสามารถเกิด หรือเจริญเติบโตขึ้นใหม่เพื่อให้ทันต่อการนำไปผลิตไบโอพลาสติกหรือไม่ เช่น วัสดุที่ผลิตจากเมล็ดถั่วนำมาใช้ประโยชน์ได้เร็วกว่าที่ผลิตจากไม้

2. มีความสามารถในการย่อยสลาย โดยพิจารณาจากระยะเวลาการย่อยสลายหลังการเลิกใช้งาน

3. ลดปริมาณของเสียที่เกิดโดยพิจารณาปริมาณของเสีย หรือมลภาวะที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตไบโอดีพลาสติก หรือเมื่อเลิกใช้ผลิตภัณฑ์แล้ว

อันที่จริงวัสดุธรรมชาติหลายชนิดได้มีการพัฒนาสมบัติทางเคมี และฟิสิกส์ ให้กลายเป็นไบโอพอลิเมอร์สำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกที่มีความแข็งแรง ทนทาน ยืดหยุ่น และหักงอได้ ซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายการผลิตออกมาใช้เชิงการค้า เช่น cellulose collagen casein polyesters แป้งโปรตีนจากถั่ว และข้าวโพด เป็นต้น และในบรรดาวัสดุธรรมชาติทั้งหลายเหล่านี้ แป้งนับว่ามีจำนวนมากและราคาถูกที่สุด เนื่องจากสามารถหาได้ว่ายจากพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ มันสำปะหลัง เป็นต้น แต่แป้งมีขีดจำกัดการใช้ง่ายค่อนข้างน้อย เนื่องจากไบโอพลาสติกที่ผลิตจากแป้งโดยตรง เกิดการพองตัวและเสียรูปง่ายเมื่อได้รับความชื้น จึงได้มีการใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าไปย่อยสลายแป้งแล้วเปลี่ยนแป้งให้กลายสาร monomer ที่เรียกว่า กรด lactic หลังผ่านการบวนการ polymerization กรด lactic จะเชื่อมโยงต่อกันเป็นสายโซ่ยาวเรียกว่า polymer ซึ่งจะสร้างพันธะต่อไปอีก จนกลายเป็นพลาสติกที่เรียกว่า polylactic acid (PLA) นอกจากนี้เชื้อจุลินทรีย์หลายชนิดยังใช้แป้งในการสังเคราะห์และสะสมพอลิเมอร์ที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ขึ้นภายในเซลล์

ปัจจุบันไบโอพลาสติกจากไบโอพอลิเมอร์ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงของแป้ง หรือจากแป้งโดยตรง สามารถนำมาใช้ผลิตผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่น ถุง และกระสอบบรรจุปุ๋ย ภาชนะบรรจุอาหารจานด่วน บรรจุภัณฑ์ต่างๆ แผ่นฟิล์มสำหรับห่อของ และคลุมต้นกล้าของพืชสำหรับกันแมลง ผ้าอ้อม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น บริษัทโตโยต้า เป็นบริษัทผลิตรถยนต์รายแรกของโลกที่ใช้ polylactic acid (PLA) ในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ และปลอกครอบยางอะไหล่รถยนต์ บริษัทมิตซูบิชิพลาสติกประสบความสำเร็จในการเพิ่มความแข็งแรง และความสามารถในการต้านทานความร้อนของ polylactic acid โดยนำมาทำปฏิกิริยาทางเคมีร่วมกับไบโอพลาสติก และสารตัวเติมอื่นๆ ไบโอพลาสติกชนิดใหม่ที่ผลิตขึ้นสามารถนำมาผลิตกล่อง และโครงพลาสติก สำหรับผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ของบริษัท Sony ในขณะเดียวกับ บริษัท NEC ได้ทดลองใช้ polylactic acid ผสมกับเส้นใยปอในปริมาณร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก เพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความแข็งแรง และต้านทานความร้อนสูง เป้าหมายในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้าของบริษัท NEC คือ การใช้ไบโอพลาสติกชนิดใหม่นี้เพียงอย่างเดียวในการผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น ทำกล่องด้านนอกของชุดคอมพิวเตอร์ และผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นที่สามารถใช้ประโยชน์ซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นได้มีการใช้พลาสติกประมาณ 14 ล้านตันต่อปี หากการผลิตไบโอพลาสติก หรือพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเพียงปีละ 1 หมื่นตัน แล้วคาดว่าในปี 2005 นี้ตลาดสำหรับไบโอพลาสติกคงจะเติบโตอย่างชนิดที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว

กล่าวโดยสรุปก็คือ พลาสติกหรือผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตจากพอลิเมอร์สังเคราะห์จากสารปิโตรเคมีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป แม้จะมีราคาถูก มีความแข็งแรง และมีอายุการใช้งานนาน แต่ความทนทาน และการยืดเกาะกันอย่างเหนียวแน่นของเนื้อพลาสติก ทำให้พลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ อันเป็นการสร้างภาระการจัดการขยะ หรือของเหลือทิ้ง ดังนั้นจึงได้เกิดการศึกษาวิจัยเพื่อนำวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่าย มีปริมาณมาก และราคาถูก มาทดลองผลิตไบโอพอลิเมอร์ เพื่อการผลิตไบโอพลาสติก ซึ่งการผลิตไบโอพอลิเมอร์โดยใช้วัสดุธรรมชาติเป็นวัตถุดิบนี้ นอกจากจะใช้พลังงานในการสังเคราะห์ และย่อยสลายต่ำแล้วยังทำให้ดินมีสภาพดีในการย่อยสลาย ลดการเกิดฝนกรด และสร้างสภาพแวดล้อมโดยรวมที่ดีตามไปด้วย นอกเหนือจากนั้น ผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกที่ได้รับการพัฒนาแล้วยังมีสมบัติในด้านความแข็งแรง ยืดหยุ่น และทดทานต่อการใช้งานได้ดีเช่นเกี่ยวกับพลาสติกสังเคราะห์จนสามารถผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในอนาคตข้างหน้าหากได้มีการสนับสนุน และพัฒนาการใช้ทรัพยากรที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ในการผลิตไบโอพลาสติก โดยทำการประเมินหรือกำหนดอายุการใช้งาน ศึกษาผลกระทบ และระยะเวลาการย่อยสลายของผลิตภัณฑ์หลังการเลิกใช้งานพร้อมทั้งหาวิธีการบริหารจัดการที่เหมาะสมลดต้นทุนการผลิต เสริมความรู้ และสร้างความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องให้มากขึ้นแล้ว ก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกกลายเป็นที่นิยม และยอมรับของคนทั้งโลกในอนาคตข้างหน้าได้


อ้างอิง: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย / รมณีย์ หวังดีธรรม




บทความสีเขียว

ฟางข้าวประโยชน์มากกว่าที่คิด คิดสักนิดก่อนเผา วันที่ 25/08/2022   14:30:50 article
ประชุมออนไลน์ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 94% วันที่ 12/01/2022   13:21:00
การปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ภัยคุกคามสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่กำลังส่งผลสะท้อนกลับมายังมนุษย์ วันที่ 17/08/2020   14:50:58 article
อุตสาหกรรมสีเขียว วันที่ 28/01/2020   10:50:39 article
ไทยตั้งเป้าลด ขยะพลาสติก 50% ภายในอีก 9ปี วันที่ 06/07/2018   11:33:47 article
ขีดเส้น 1 ปี เลิกผลิตพลาสติกหุ้มฝาขวด หวังลดขยะ 520 ตัน วันที่ 05/07/2018   14:55:38 article
แสงอาทิตย์ท่ามกลางฝันร้ายทรายน้ำมัน วันที่ 02/07/2016   18:52:08
บรรลุข้อตกลงโลกร้อน วันที่ 05/01/2016   20:28:09 article
น้ำในเขื่อนใหญ่แห้งขอด! บราซิลประสบภัยแล้งหนักสุดในรอบ 80 ปี วันที่ 05/01/2016   20:31:44
‘สเปิร์มปลาแซลมอน’ช่วยรักษ์โลก วันที่ 01/02/2015   23:04:24
ตรวจดูยางรถให้เป็นยางรักษ์โลก วันที่ 30/01/2015   20:40:01
ตัวเลขกับรถคันแรก วันที่ 30/01/2015   20:39:45
"ไทย" คิดครั้งแรกของโลก! เทคนิคผลิต "ยาง" ล้ำยุค-ไร้มลพิษ วันที่ 30/01/2015   20:42:33 article
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม AEC ต้องไม่ละเลย วันที่ 18/06/2012   20:32:13 article
7 วิธี เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเล่นน้ำสงกรานต์ วันที่ 22/04/2012   17:04:10
10 นวัตกรรมวิทย์ไทย-ใช้ได้ทันที วันที่ 03/02/2015   19:45:53 article
10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง วันที่ 07/01/2012   13:02:01 article
ช่วยต้นไม้ ให้รอดจากน้ำท่วม วันที่ 08/12/2011   09:26:35 article
สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม วันที่ 10/10/2011   21:02:26
กรมอุทยานฯดีเดย์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ประเมินคุณค่าระบบนิเวศ วันที่ 04/09/2011   10:33:55
“เครื่องทอฟาง” นวัตกรรมใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อม แปลง “เศษฟางข้าว ใบหญ้า” ให้เป็นเงินทอง วันที่ 04/09/2011   10:34:33 article
จับตา โซล่าฟาร์มธุรกิจใหม่มาแรง วันที่ 04/09/2011   10:36:36 article
ไบโอดีเซลจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:41:49 article
น้ำมันในอนาคตสกัดจากสาหร่าย! วันที่ 04/09/2011   10:42:23 article
พลังงานนิวเคลียร์ และรังสี วันที่ 04/09/2011   10:42:57
กัมมันตภาพรังสี วันที่ 04/09/2011   10:43:12
หนาวนี้...ทานอาหารแบบประหยัดพลังงาน วันที่ 04/09/2011   10:43:29 article
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ด้านสิ่งแวดล้อม) วันที่ 04/09/2011   10:43:52 article
อุตสาหกรรมเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-Industry) วันที่ 04/09/2011   10:44:08 article
"กรีนบอร์ด" วัสดุทดแทนไม้จากกล่องเครื่องดื่มรีไซเคิล วันที่ 04/09/2011   10:44:24 article
“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสังคมเทคโนโลยี วันที่ 04/09/2011   10:44:54 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค2 วันที่ 04/09/2011   10:45:19 article
108 วิธีประหยัดพลังงาน ภาค1 วันที่ 04/09/2011   10:45:40 article
ผักอินทรีย์...มองไกลไปกว่าวิตามิน วันที่ 04/09/2011   10:45:55 article
"7 กรีนส์" วิธีท่องเที่ยว แบบคนรักษ์โลก วันที่ 04/09/2011   10:46:07
ติดผนังสีเขียวให้เย็นตารับหน้าร้อน วันที่ 04/09/2011   10:46:27 article
Dangerous Zones เมื่อฟ้าฝนวิปริต โลกจะเป็นอย่างไรในวันพรุ่ง... วันที่ 04/09/2011   10:47:04 article
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่2 วันที่ 04/09/2011   10:47:39
ปาฏิหารย์พลังงานจากขยะ ตอนที่1 วันที่ 04/09/2011   10:48:16 article
"ยางธรรมชาติ" เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร? วันที่ 04/09/2011   10:48:31 article
"ไฮโดรเจน" พลังงานขับเคลื่อนโลกยุคใหม่ วันที่ 04/09/2011   10:48:51 article
GreenTransformer "6 in 1 Solar Robot Kit" วันที่ 04/09/2011   10:49:09 article
พลังงานทดแทน วันที่ 04/09/2011   10:49:25
กระบวนการไพโรไลซิสน้ำมันจากยางรถยนต์เสื่อมสภาพ วันที่ 03/02/2015   19:42:08
ฉลากคาร์บอน วันที่ 04/09/2011   10:50:04 article
คาร์บอนเครดิต วันที่ 01/12/2010   19:31:38 article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

บริษัท รับเบอร์ กรีน จำกัด | RUBBER GREEN COMPANY LIMITED

58 ซ.พระยามนธาตุฯ แยก 19 (ดี.เค.30) แขวงคลองบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 10150
58, Soi Prayamonthat Yaek 19, Klongbangbon, Bangbon, Bangkok 10150 Thailand

Tel: +66 (0) 2417 1392, 08 1808 1391   Fax: +66 (0) 2416 9312 Email: rubbergreen@yahoo.co.th

"ผู้ผลิต และจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด"